แนวคิดการเป็นกัลยาณมิตร DF 101 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น หน้า 58
หน้าที่ 58 / 142

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงความสำคัญของการฝึกฝนตัวเองก่อนที่จะสอนผู้อื่น โดยเน้นว่าการเป็นกัลยาณมิตรที่ดีคือการที่ต้องปฏิบัติตนให้ดีที่สุด เพื่อเป็นแบบอย่างที่ผู้อื่นสามารถเลื่อมใสและปฏิบัติตามได้ การทำดีๆ จะช่วยสร้างความศรัทธาและเป็นแรงบันดาลใจในการปฏิบัติธรรม นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการฝึกตนเองอย่างถูกต้องและสามารถกลายเป็นกัลยาณมิตรในอุดมคติได้ การตระหนักถึงการฝึกตนเพื่อเป็นกัลยาณมิตรในระดับที่สูงขึ้นเป็นการเปิดประตูสู่ชีวิตที่ดีและการเข้าถึงสวรรค์นิพพาน

หัวข้อประเด็น

- การฝึกตนเป็นกัลยาณมิตร
- ความสำคัญของแบบอย่างดี
- การส่งเสริมธรรมะผ่านการปฏิบัติ
- ความศรัทธาและแรงบันดาลใจ
- วัตถุประสงค์ของการศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด “ก่อนสอนคนต้องสอนตนให้ดีก่อน” หมายถึงการจะแนะนำคนอื่นให้เป็นคนดีหรือเข้าสู่กระแสธรรม ได้นั้น กัลยาณมิตรจะต้องฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวด และเข้มงวดกวดขันต่อตนเอง จนรู้สึกว่าเป็นต้นแบบ ทั้งทางกาย วาจา ใจ ได้อย่างไม่มีที่ตำหนิ ต้นแบบที่ดีมีค่ากว่าคำสอนนับหมื่นนับล้านคำ การทำดีๆ ให้ดู และพูดจาในสิ่งที่เป็นอรรถเป็นธรรม เป็นบุญกุศลอยู่เสมอ จะทำให้คนรอบข้างสัมผัส ได้ถึงความเป็นผู้ น่าเลื่อมใส ความศรัทธาเลื่อมใสนำไปสู่การอยากประพฤติปฏิบัติธรรมโดยไม่มีข้อแม้ ข้ออ้างและเงื่อนไข การฝึกฝนตน บนเส้นทางของกัลยาณมิตร จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งฝึกตนได้ดีเพียงไร นั่นคือแสงสว่าง ที่ส่องนำทาง สรรพสัตว์ให้มองเห็นแสงสว่างของชีวิตและเห็นทางไปสู่สวรรค์นิพพาน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถฝึกฝนตนเองบนเส้นทางของกัลยาณมิตรได้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ 2. เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ตระหนักของการฝึกตนเองอย่างยิ่งยวด เพื่อก้าวขึ้นสู่ความเป็นกัลยาณมิตร ในอุดมคติของชาวโลก 3. เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรต่อตนเอง บทที่ 4 การ ทำ หน้าที่ กัลยาณมิตร ต่อตนเอง DOU 49
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More