ข้อความต้นฉบับในหน้า
คือหลุดพ้นด้วยอำนาจของปัญญาบริสุทธิ์ ที่รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งหลายทั้งปวง หากเรา
ปรารถนาเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยากเป็นผู้เข้าถึงวิชชาและวิมุตติ ก็
ต้องคบหากัลยาณมิตร ผู้จะนำพาเราให้ได้รู้จักโพชฌงค์ ทั้ง 7 ประการ พระพุทธองค์ได้ทรงอุปมาเอาไว้ว่า
“กลอนเรือนยอดทั้งหมดย่อมน้อมไปสู่ยอด โน้มไปสู่ยอด โอนไปสู่ยอด แม้ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ 7
กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน
ชีวิตนี้ถ้าขาดกัลยาณมิตรแล้ว โอกาสที่จะได้เจริญธรรม 7 ประการนี้ก็หาได้ยากยิ่ง
ผู้ที่ได้ฟังโพชฌงค์และได้เจริญจนชำนาญเป็นวสีแล้ว หากเกิดโรคภัยไข้เจ็บอะไรขึ้นมา
ก็อธิษฐานจิตให้โรคนั้นมลายหายสูญไปได้ด้วยอานุภาพพระปริตรได้ เหมือนในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า
ทรงเห็นในข่ายพระญาณว่า ขณะนี้พระโมคคัลลานะกับพระมหากัสสปะ กำลังอาพาธได้รับทุกขเวทนาอย่าง
หนัก ไม่มียารักษา พระองค์จึงเสด็จเข้าไปเยี่ยมถึงที่พักของพระเถระทั้งสองรูป ทรงไต่ถามอาการป่วย จาก
นั้นก็ได้แสดงโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้พระมหาเถระได้สดับ
พระมหาเถระทั้งสองรูปปล่อยใจตามกระแสพระธรรมเทศนา เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงโพชฌงค์
ทั้ง 7 จบลง ความทุกข์ทรมานที่เกิดจากโรคร้ายก็หายไปเป็นอัศจรรย์เลยทีเดียว แม้กระทั่งบางครั้ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราเอง ทรงพระประชวร พระองค์ทรงรักษาด้วยการให้พระจุนทะเถระ
สวดโพชฌงค์ปริตรให้ฟัง เมื่อสวดจบ อาการประชวรของพระองค์ก็หายไปเป็นอัศจรรย์เหมือนกัน นี่ก็คือ
การใช้ธรรมโอสถรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยในสมัยอดีต ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้ผลดีเยี่ยม เพราะฉะนั้น
ตั้งแต่โบราณมา ชาวพุทธเราจึงนิยมอาราธนานิมนต์พระสงฆ์ไปเจริญพระปริตรที่บ้าน เพื่อขจัดความชั่วร้าย
วิบัติต่างๆ ออกจากบ้าน ให้เหลือไว้แต่สิ่งที่เป็นสิริมงคล
“สำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอย่างอื่นแม้สักอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์มาก เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้น”
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร.. พึงหวังสิ่งเหล่านี้ได้ คือ
1. จักเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร ฯลฯ
2. จักเป็นผู้มีโอกาสได้ยินได้ฟังได้ร่วมสนทนา (อย่างสะดวกสบาย) ตามความปรารถนาในเรื่องต่างๆ
ที่ขัดเกลาอุปนิสัย ชำระจิตใจให้ปลอดโปร่ง คือเรื่องความมักน้อย เรื่องการบำเพ็ญเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ
เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ฯลฯ
3. จักเป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียรเพื่อกำจัดอกุศลธรรม และเพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมให้เพียบพร้อม
จักเป็นผู้แข็งขัน บากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
4. จักเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ หยั่งรู้ถึงความเกิด ความดับ ชำแรกกิเลส
นำไปสู่ความสูญสิ้นแห่งทุกข์
บทที่ 2 ค ว า ม สำ คั ญ ข อ ง กั ล ย า ณ มิ ต ร DOU 27