เรื่องราวของนางจูฬสุภัททาและอุคคเศรษฐี DF 101 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น หน้า 49
หน้าที่ 49 / 142

สรุปเนื้อหา

ในเรื่องราวนี้ นางจูฬสุภัททาได้ทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อต้อนรับอุคคเศรษฐี ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากเขา ทว่าอุคคเศรษฐีกลับมีความเห็นผิดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ขณะที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้พานางจูฬสุภัททาไปสู่การแต่งงาน ภรรยาของเศรษฐีมีความกังวลเกี่ยวกับหลักธรรมที่นางจูฬสุภัททานับถือ ในที่สุดการสนทนาระหว่างนางและสามีทำให้เห็นถึงความสำคัญของหลักธรรม และคุณธรรมของพระสมณะซึ่งสร้างความตระหนักให้กับทุกคนในครอบครัว

หัวข้อประเด็น

-ความรับผิดชอบของนางจูฬสุภัททา
-ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐี
-หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
-การเคารพในความเชื่อ
-การต้อนรับและการจัดงานมงคล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หน้าที่ของลูกก็แล้วกัน” นางรับคำแล้วก็ได้จัดโภชนะรสเลิศด้วยมือของตนเอง แล้วยังได้ตระเตรียมสิ่งของ ต่างๆ มีพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้เป็นต้นไว้ต้อนรับ เวลาที่ท่านเศรษฐีนั้นบริโภค ก็จัดแจงน้ำ สำหรับอาบไว้คอย พอท่านเศรษฐีไปอาบน้ำ ก็ทำภารกิจทุกอย่างจนสำเร็จเรียบร้อยไม่มีที่ติเตียน อุคคเศรษฐีได้เห็นกิริยามารยาท และการเอาใจใส่ในหน้าที่การงานของนางแล้ว ก็เกิดความ พออกพอใจยิ่งนัก จึงได้นั่งสนทนากับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นสหายปรารภถึงความหลังครั้งยังเป็นหนุ่ม และกติกาที่ได้ตกลงกันเอาไว้ก็เลยสู่ขอนางจูฬสุภัททาให้เป็นภรรยาของบุตรชายตนโดยปกติแล้วอุคคเศรษฐี เป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นผิด ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ดังนั้นท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงนำเรื่องนี้เข้าไปกราบทูลให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงเห็นอุปนิสัย แห่งการบรรลุธรรมของอุคคเศรษฐีจึงทรงอนุญาต ท่านเศรษฐีก็กลับมาบอก ภรรยาแล้วก็ได้ให้คำตอบแก่อุคคเศรษฐี ในที่สุดก็ได้จัดงานดุจงานวิวาห์ที่ธนัญชัยเศรษฐีจัดให้นางวิสาขา ผู้เป็นธิดา ในวันที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีจะส่งลูกสาวไปนั้น ได้ถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์โดยมี พระพุทธองค์เป็นประมุข แล้วได้ส่งธิดาไปด้วยสักการะอันยิ่งใหญ่ มหาชนพร้อมกับตระกูลของสามีในเมือง อุคคนครก็ได้ทำการต้อนรับนางเมื่อนางจุฬสุภัททาไปถึงนางก็ได้แสดงตนแก่ชาวนครทั้งสิ้นเหมือนนางวิสาขา ทำสิริสมบัติของตนให้ปรากฏต่อสายตาชาวเมือง โดยยืนอยู่บนรถพร้อมเครื่องประดับที่วิจิตรสวยงาม ประมาณค่ามิได้เข้าสู่นคร นางได้รับเครื่องบรรณาการที่ชาวนครส่งมาให้ แล้วได้ทำการตอบแทนชาวนคร ทั้งหลายด้วยการส่งวัตถุสิ่งของตามสมควร ในวันอันเป็นมงคลวันหนึ่ง อุคคเศรษฐีตั้งใจจะทำสักการะแก่พวกชีเปลือย จึงบอกให้ นางจูฬสุภัททามาไหว้ชีเปลือยเหล่านั้น เมื่อนางจุฬสุภัททาเห็นแล้วก็ไม่อาจมองดูได้ และไม่ปรารถนาจะ เข้าไปหา เศรษฐีได้ส่งคนไปตามหลายครั้งก็ถูกนางปฏิเสธกลับมา จนกระทั่งเศรษฐีโกรธแล้วพูดขึ้นว่า พวกเจ้า จงไล่นางไปเสียให้พ้นบ้าน นางจุฬสุภัททาคิดว่า ไม่มีเหตุผลเลยที่พ่อสามีจะทำอย่างนี้ จึงให้คนเรียกกุฎมพี 8 คนมาตัดสิน เมื่อกุฎมพีทราบว่านางไม่มีความผิดจึงบอกให้เศรษฐียอมความเสียเมื่อเป็นเช่นนั้นเศรษฐีก็พูด กับภรรยาว่า ลูกสะใภ้คนนี้ไม่ยอมไหว้สมณะของเรา ด้วยเข้าใจว่า ท่านเหล่านี้ไม่มีความละอาย แต่ภรรยาของ เศรษฐีกลับคิดว่า แล้วสมณะของลูกสะใภ้นี้เป็นเช่นไรหนอ นางถึงสรรเสริญคุณของสมณะของตนเหลือเกิน จึงให้คนเรียกนางมาแล้วได้ถามถึงลักษณะ สีลาจารวัตรของสมณะที่นางเคารพนับถือว่าเป็นอย่างไร นางจุฬสุภัททาเมื่อจะประกาศคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ จึงกล่าวว่า “พระสมณะของดิฉันนั้น ท่านเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ท่านเดินยืนเรียบร้อย มีจักษุ ทอดลงต่ำ พูดก็พอประมาณ กายกรรมของท่านสะอาด วจีกรรมไม่มัวหมอง มโนกรรมหมดจดดี ท่านไม่มีมลทินคืออุปกิเลสทั้งหลาย มีรัศมีดุจแก้วมุกดา บริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก เต็มเปี่ยมแล้วด้วยคุณธรรม ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ แม้โลกจะฟูขึ้นเพราะลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือจะ ฟุบลงเพราะเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา หรือมีความทุกข์เข้าครอบงำ ท่านก็เป็นผู้มีใจปกติสม่ำเสมอ 40 DOU บ ท ที่ 3 ห ลั ก ธ ร ร ม ใ น ก ารเป็นกัลยาณมิตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More