การบวชสามเณรและการตอบแทนพระคุณ พี่เณร สอนน้อง หน้า 109
หน้าที่ 109 / 178

สรุปเนื้อหา

การบวชของน้องเณรไม่เพียงแต่ทำให้เกิดบุญกุศล แต่ยังเป็นการตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ที่อนุโมทนากับการบวช ขณะเดียวกัน การมีพระพี่เลี้ยงก็มีความสำคัญเหมือนการมีไม้หลักให้ต้นกล้ายืนอยู่ได้ในยามพายุรบกวน เนื้อความนี้เน้นถึงความสำคัญของการมีจิตสำนึกและการรักษาความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ

หัวข้อประเด็น

-การบวช
-พระคุณ
-ความกตัญญู
-พระพี่เลี้ยง
-อานิสงส์จากการบวช

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7 แ ก่ ผู้ มี พ ร ะ คุ ณ ฉะนั้นการที่น้องเณรมาบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเด็กอยู่นี้ ขอให้น้องเณรทราบเถอะว่า นอกจากจะเกิดเป็นบุญกุศลติด ตัวเราไปแล้ว พ่อแม่ผู้ให้กำเนิด เมื่อท่านอนุโมทนาก็ย่อมได้รับ อานิสงส์จากการบวชของเราไปด้วย เพราะสิ่งนี่คือการตอบแทน พระคุณที่ดีที่สุดแล้ว หากยามไหนที่น้องเณรจะกระทำาเรื่องราวใดที่ไม่ถูกไม่ควร ขอให้น้องเณรลองคิดสักนิดเถอะว่า “กระท่อมหลังน้อยโดด เดี่ยวกลางผืนนาอันแห้งแล้ง เปลวแดดร้อนแรงปานจะทุบพื้น นาให้แยกแตกสลาย ยังมีดวงตาอันพร่ามัว เปลี่ยนจากสีดำใน วัยหนุ่มสาว มาเป็นสีน้ำข้าวจางๆ ในวัยชราของผู้เฒ่าอีกสองคน ซึ่งยังคงมองฝ่าไอระอุของเปลวแดดไปเบื้องหน้า ด้วยความ หวังว่าจะได้เห็นผ้าเหลืองของสามเณรลูกชายโบกสะบัดมาดับ ความร้อน ให้กับผืนนาในหัวใจอันแตกระแหงนี้ และมอบความ ชุ่มเย็นจากธรรมะไว้เป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งสองในยามหลับตาลาโลก ผู้ที่มีพระคุณต่อเรา นอกจากโยมพ่อโยมแม่ผู้ให้กำเนิดแล้ว บุคคลที่เราไม่อาจจะมองผ่านได้ทั้งยังไม่อาจจะลืมเลือนได้เช่นกัน นั่นคือ “พระพี่เลี้ยง” คำๆ นี้รวมความหมายอันสูงค่าหลายๆ อย่างไว้ในตัว ต้นกล้าหากไม่มีไม้หลักปักเอาไว้ ย่อมถูก โค่นล้มโดยง่ายดายและตายในที่สุด เนื่องเพราะยังเป็นต้นอ่อน เกินกว่าที่จะเผชิญกับพายุร้ายโหมกระหน่ำ จึงมิอาจยืนหยัด อยู่ด้วยลำต้นของมันเอง หากจะเปรียบกับน้องเณรก็คงเป็นเช่น ดั่งต้นกล้า หากไม่มีพระพี่เลี้ยงคอยประคับประคอง แนะนำ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More