การอบรมเด็กและการเป็นพี่เลี้ยง พี่เณร สอนน้อง หน้า 110
หน้าที่ 110 / 178

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงประสบการณ์ของพี่เณรในการเป็นพี่เลี้ยงยุวธรรมทายาทในวัด เน้นถึงความสำคัญของการอบรมเด็ก โดยทั่วไป การทำหน้าที่พี่เลี้ยงทำให้พี่เณรรู้สึกภูมิใจและรู้ว่าเขาเติบโตขึ้น แม้ว่าจะมีความท้าทายและความผิดพลาดในบางเรื่องก็ตาม ความคิดเห็นของหลวงพ่อทัตตชีโวเน้นการสอนโดยไม่ใช้ความรุนแรง เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้คุณธรรมและจริยธรรมอย่างถูกต้อง ขอแนะนำให้ทำหน้าที่พี่เลี้ยงอย่างมีความรับผิดชอบและให้ความรักแก่เด็ก

หัวข้อประเด็น

-การอบรมเด็ก
-ประสบการณ์พี่เลี้ยง
-การสอนที่ไม่มีความรุนแรง
-คุณค่าของการทำหน้าที่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

8 พี่ เ ณ ร ส อ น น อ ง 8 พร่าสอน ก็มีโอกาสที่จะหลุดออกจากเส้นทางการสร้างบารมีได้ อย่างง่ายดาย เพราะว่าน้องเณรยังมีความคิดไม่สมบูรณ์และ ยังอ่อนเกินกว่าที่จะออกสู่โลกกว้างได้ด้วยลำพังตัวเอง พูดถึงการเป็น “พี่เลี้ยง” ทำให้ พี่เณรย้อนนึกถึงสมัยหนึ่ง ที่ได้มีโอกาสไปทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงยุวธรรมทายาทในวัดของ เรานี่เอง การไปทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในครั้งนั้น ต้องถือว่าเป็น ครั้งแรกในชีวิตของพี่เณรที่ต้องไปดูแลให้การอบรมสั่งสอนคน เป็นจํานวนมากๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นเด็กทั้งนั้นเลย การอบรมในครั้งนั้น พี่เณรได้ตั้งใจทำหน้าที่พี่เลี้ยงอย่าง เต็มที่ รู้สึกปีติและภูมิใจในตัวเองเป็นอย่างมาก การทำหน้าที่นี้ ทำให้พี่เณรรู้สึกว่าเราเป็นผู้ใหญ่ขึ้น และเกิดความเชื่อมั่นใน ตัวเองมากขึ้น พี่เณรได้พยายามทําหน้าที่ให้ดีที่สุด แต่ก็พลาดไปในบาง เรื่อง เนื่องจากยังใหม่ต่อการที่จะต้องมาทำหน้าที่ตรงจุดนี้ อย่าง เช่นยุวฯ บางคนฝ่าฝืน กฎระเบียบ เตือนเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง ทำให้ พี่เณรต้องฝืนใจจับไม้เรียว ทั้งๆ ที่จริงก็ไม่อยากจะใช้มัน (แต่ ตลอดระยะเวลาของการอบรม พี่เณรได้จับไม้ตีเด็กไปเพียงสอง ครั้งเท่านั้น) ต่อมาหลวงพ่อทัตตชีโวท่านก็ให้คําแนะนําในการอบรม แก่พวกเรา และท่านได้ให้นโยบายเอาไว้ว่า “ห้ามตี” เพราะ การสอนเด็กด้วยการตี คือการสอนให้เด็กใช้ความรุนแรง เด็ก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More