การทำใจให้หยุดนิ่ง พี่เณร สอนน้อง หน้า 77
หน้าที่ 77 / 178

สรุปเนื้อหา

การทำใจให้หยุดนิ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ให้หลุดจากกลางและไม่ต้องมีเงื่อนไขใดๆ ตามคำสอนของหลวงพ่อ การฝึกปฏิบัติไม่จำเป็นต้องมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ แต่ควรมุ่งที่วิธีการ ทำอย่างสบายๆ เพื่อที่จะเปิดใจรับประสบการณ์ภายในที่สำคัญ ความสมัครใจและความถูกต้องในการปฏิบัติคือกุญแจหลักที่จะนำไปสู่การเห็นธรรมะอย่างแท้จริง.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายในการทำใจให้หยุดนิ่ง
-ความสำคัญของวิธีการที่ถูกต้อง
-การสมัครใจในปฏิบัติธรรม
-ผลของการทำตามวิธีการที่ถูกต้อง
-การไม่ตั้งเป้าหมายผลลัพธ์ในปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

11 ก า ร แ ห่ ง 0 5 0 ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตลอดเวลา ท่าให้ได้ตลอดทั้งวันทั้ง คืน ทั้งหลับทั้งตื่น ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ว่าจะทำอะไร อย่าให้ใจ หลุดจากกลาง อย่าให้สูญเสียการทำใจให้หยุด นิ่ง โดยไม่มีข้อแม้ ข้ออ้าง หรือเงื่อนไขใดๆ นอกจากเรื่องของ “ความสมัครใจ” แล้ว “วิธีการที่ถูก ต้อง” ก็เป็นสิ่งสําคัญมาก ที่จะต้องทำให้ได้ตรงตามแบบแผน ที่หลวงพ่อท่านวางเอาไว้ด้วยคือ “ให้หยุด นิ่ง เฉย อย่าง เบาๆ สบายๆ ให้ต่อเนื่อง มีอะไรให้ดูก็ดูไป ดูไปเรื่อยๆ อย่าง สบายๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น ให้ทำอย่างนี้ แค่นี้ เท่านั้น” บางคนดูเบาไม่ปฏิบัติตาม แม้นั่งไปเป็น 90 ปีก็ยังไม่ได้ ผล แล้วก็มาบ่น “นั่งแล้วไม่เห็นมีอะไร” เพราะเขาทำผิดวิธีจึง ไม่ได้ผล เมื่อไม่ได้ผลก็เหมาเอาว่าที่คนอื่นเขาเห็นธรรมะกัน นั่นไม่จริง คงเป็นเพียงจินตนาการ หรือนึกคิดเอาทั้งนั้น เลยพาล ไม่เชื่อว่าธรรมะมีจริง ดังนั้นเมื่อสมัครใจแล้ว ก็ต้องทำอย่างถูกวิธี มุ่งที่วิธีการ หยุดนิ่งอย่างถูกต้อง อย่ามุ่งที่ผล ว่าต้องเห็นนั่นเห็นนี่ ได้ นั่นได้นี่ ถ้าทำถูกต้องแล้วย่อม ได้ผลเอง พระเดชพระคุณ หลวงพ่อสอนว่า “วิธีการที่ถูกต้องจะนำไปสู่ประสบการณ์ภายในที่สมบูรณ์ ให้มุ่งที่การทำใจให้หยุดนิ่ง อย่ามุ่งว่าจะต้องเห็นนั่นเห็นนี่ เพราะ การเห็นนั้นเป็นเพียงผลพลอยได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More