การบริหารเวลาเพื่อการปฏิบัติธรรม บางสิ่งที่แสวงหา หน้า 90
หน้าที่ 90 / 218

สรุปเนื้อหา

เราได้เรียนรู้ว่ามรรยาทผลิพนธ์อยู่ในตัวและการเข้าถึงต้องทำที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 การใช้เวลาอย่างมีกำไรชีวิตเกิดจากการทำความดี การปฏิบัติธรรม และการจัดสรรเวลาให้เหมาะสม นอกจากนี้ มีช่วงเวลาที่ผู้คนเสียเวลาไปโดยไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นควรตระหนักถึงการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างบุญกุศลในทุกวัน

หัวข้อประเด็น

-การบริหารเวลา
-มรรยาทผลิพนธ์
-การปฏิบัติธรรม
-บุญกุศล
-กำไรชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เราได้เรียนรู้แล้วว่า มรรยาทผลิพนธ์อยู่ในตัว การจะเข้าถึงได้ก็ต้องนำใจมายุ่งนี้อยู่ในศูนย์กลางกายฐานที่ 7 หลักวิชาชารัฐกันหมดทุกคนแล้ว เพราะฉะนั้นได้เพิ่มมาอีกหนึ่งวัน นั่นแหละของขวัญล้ำค่า คือได้โอกาสมาสำหรับการปฏิบัติธรรม เรามีเวลาเท่ากันทุกคน วันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมง ไม่มีใครเสียเปรียบได้เปรียบทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกเพศ ทุกวิถี ทุกสายอาชีพ ทุกคนมีเวลาในแต่ละวันที่เท่ากัน ต่างแต่ว่าใครจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิต เวลาที่เราสุขเสียไป สิ่งที่ได้กลับคืนมานั้นต้องเป็นกำไรรัยชีวิต กำไรชีวิต เขาวัดตรงที่บุญกุศลที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน ทั้งทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น อย่างนี้จึงเรียกว่า ได้กำไรชีวิต แต่บางคนใช้เวลาผ่านไปโดยไม่ได้กำไรชีวิตเลย เพราะเขามักจะมีอุทาหรณ์ที่เอาไว้ว่า เวลาจะไปชวนทำความดี ชวนปฏิบัติธรรมก็จะบอกว่า ไม่ว่าง ไม่มีเวลา จริง ๆ แล้วไม่มีเวลาไม่มีในโลก เพราะทุกคนมีเวลาเท่ากัน ขึ้นอยู่ว่าบริหารเวลาหรือจัดสรรเวลาเป็น ถ้าเราจัดสรรเวลา เราจะพบว่าเรามีเวลาเหลือเพื่อสำหรับการปฏิบัติธรรม ตัดการคุยโทรศัพท์ที่ไร้สาระ เวลาดูหนัง ดูทีวี เวลาเที่ยวยุระสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเวลาที่อ่านหนังสือที่ไร้สาระ อย่างนี้ เป็นต้น และถ้าเราเอาเวลาที่จะสูญเสียไปอย่างนั้น เอามานั่งธรรมะ กำไรชีวิตจึงจะเกิดขึ้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More