การตั้งเป้าหมายในชีวิตและการเรียนบาลี ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 13
หน้าที่ 13 / 407

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญของการตั้งเป้าหมายในการเรียนบาลี เพื่อไม่ให้หลงทางหลังจากเรียนจบเปรียญธรรม ๙ ประโยค ผู้เรียนควรมีจุดมุ่งหมายในการใช้องค์ความรู้เพื่อตอบแทนพระศาสนา และไม่หลงใหลในลาภสักการะมากเกินไป เพื่อศึกษาธรรมะอย่างจริงจังและนำไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการตั้งเป้าหมาย
-การหลุดพ้นจากทุกข์
-การบริการพระศาสนา
-การเรียนบาลีแบบตั้งใจ
-ลาภสักการะกับการประพฤติพรหมจรรย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เอาแต่ประโยค ๙ แต่ไม่คิดว่าเรียนแล้วจะนำมาใช้งานอะไร ตรงนี้เอง ที่ทำให้บางรูปบวชไปแล้ว พอจบ ๙ ประโยค ก็คิดว่าสุดทางที่เราตั้งใจ ไว้แล้ว ต่อแต่นี้ก็เริ่มเคว้งคว้าง ในที่สุดก็ล็กหาลาเพศกันไปหลายรูป เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ การเรียนธรรมะมีเป้าหมายใหญ่ คือการ หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลาย เราเรียนบาลีก็ต้องรู้ไว้ว่าการเรียนจบ เปรียญธรรม ๙ ประโยคนี้ จะนำมาใช้กำจัดทุกข์ได้อย่างไร ถ้าเราไม่รู้ จะนํามาใช้งานอย่างไร ในที่สุดเราก็จะสึกตามเขาไป หรือแม้ยังไม่สึก ก็จะอยู่แบบแกว่ง ๆ แต่ไม่ได้ทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่สมภูมิกับ ที่ร่ำเรียนมาจนจบเปรียญธรรม ๙ ประโยค คุณค่าของคนเราขึ้นอยู่กับการตั้งเป้าหมายชีวิต เราเรียนแล้วต้อง ให้พระศาสนาได้พึ่งพาอาศัย ไม่ใช่เรียนไปก่อนเพื่อจะได้อาศัยพระ ศาสนาให้มีกินมีใช้ในวันหน้า เรียนแบบนี้ติดหนี้พระศาสนา ติดหนี้ ญาติโยม เราต้องตั้งเป้าหมายไว้เลยว่า เมื่อเรียนจบแล้วจะนำความรู้ บาลีมาใช้เป็นเรี่ยวแรงตอบแทนคุณพระศาสนา จะนำพาตนเองและ ผองชนให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ได้ สิ่งนี้ต้องฝังใจเป็นเป้าหมายทุกครั้ง ที่ได้เรียนพระบาลี อย่าหลง “ลาภสักการะ” จนละทิ้ง “การกำจัดกิเลส” ในเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล แล้วว่า “ลาภสักการะ เป็นกิ่งและใบแห่งการประพฤติพรหมจรรย์” มหาสาโรปมสูตร, ม. ม. ๑๒/๓๐๗/๓๔๐-๓๔๑ (มจร.) (๑๒) ชี วิ ต ส ม ณะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More