การฝึกปฏิบัติธรรมและการสร้างบารมี ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 27
หน้าที่ 27 / 407

สรุปเนื้อหา

การฝึกปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์จากวัฏสงสาร โดยการนำธรรมะที่เรียนมาไปใช้ในชีวิตจริง เพื่อจัดการกับความทุกข์ และพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ การบวชจะมีความหมายเมื่อสามารถนำธรรมะที่เรียนรู้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ และตอบแทนคุณให้กับชาวบ้านอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงสำคัญที่นักปฏิบัติธรรมจะต้องศึกษาธรรมะอย่างลึกซึ้งและมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง

หัวข้อประเด็น

-ขันติ
-การช่วยเหลือผู้อื่น
-การพัฒนาตนเอง
-การสร้างบารมี
-การประยุกต์ธรรมะในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่เพราะพระองค์ทรงไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่าง ๆ โดยอาศัย ขันติเป็นกำลังในการแสวงหาปัญญา เป็นกำลังในการปราบกิเลส เป็นกำลังในการสร้างบารมีเป็นหมู่คณะ จึงทรงสามารถช่วยเหลือ ๒ สรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารได้อย่าง มหาศาล พระองค์จึงได้ตรัสสรรเสริญว่า “ขันตินั้นเป็นเยี่ยม” ซึ่ง ก็เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากขันติในภาคปฏิบัติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ พวกเราเคยเรียนกันมาแล้วทั้งนั้น แต่ต้องหัดเจาะลึกสู่ ภาคปฏิบัติ สู่การแก้ปัญหาในชีวิตจริง จนกระทั่งได้ปัญญาที่สามารถ นําไปใช้ฝึกฝนอบรมตนเองได้จริง เราถึงจะมีแง่คิดมุมมองที่ใช้สู้กับ ความทุกข์ สู้กับกิเลส สู้กับอุปสรรค สู้กับวิบากกรรมได้โดยไม่เพลี่ยงพล้ำา ธรรมะที่อุตส่าห์เล่าเรียนมามากเท่าไร ก็จะสามารถนำไปประยุกต์ ใช้กับการทำงานได้จริง การบวชครั้งนี้ของเราถึงจะไม่สูญเปล่า เมื่อ ถึงคราวตอบแทนคุณข้าวปลาอาหารญาติโยม ก็จะได้ไม่เป็นหนี้ ชาวบ้านข้ามภพข้ามชาติ เพราะสามารถนำคุณธรรมความดีงามต่าง ๆ ที่ได้จากการฝึกตัวเพิ่มขึ้นในแต่ละพรรษา มาแจกจ่ายให้กับญาติโยม อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จนกระทั่งเขาสามารถสร้างบารมีเป็นทีม ไปถึงที่สุดแห่งธรรมพร้อมกับเรา เพราะฉะนั้น พวกเราศึกษาเล่าเรียนธรรมะเรื่องใดก็ตาม จะต้อง ระมัดระวังให้ดี เพราะสุดท้ายแล้ว จะต้องตั้งคำถามว่า เราจะนำธรรมะ ๒ สุภาษิตชัยสูตร, สํ. ส. ๑๕/๒๕๑/๓๖๖-๓๖๙ (มจร.) (๒๖) ชี วิ ต ส ม ณะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More