ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ภิกษุไม่พึงสมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์สมาทานกัน รูปใดสมาทาน
ต้องอาบัติทุกกฏ"
ทรงอนุญาตการปวารณา
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว
ปวารณาต่อกันด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ฟัง หรือด้วย
นึกสงสัย (ว่าได้ทำความผิดทางกาย ทางวาจา) อันเป็นวิธีที่เหมาะสม
เพื่อการว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน ทั้งเป็นวิธีออกจากอาบัติ และ
เป็นวิธีเคารพในพระวินัยของภิกษุทั้งหลายสืบไป
ปวารณาคืออะไร
“ปวารณา” โดยรูปศัพท์ แปลว่า ยอมให้ขอ เปิดโอกาสให้ขอ
หรือ ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน
ส่วนคำว่า “ปวารณา” ที่มุ่งหมายในที่นี้ หมายถึง การที่ภิกษุ
เปิดโอกาสให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ซึ่งจัดเป็นสังฆกรรม
อย่างหนึ่ง ที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องทำร่วมกันในวันสุดท้ายของการอยู่
จำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน
๑๒ (สําหรับผู้เข้าจําพรรษาในพรรษาหลัง)
วิธีปวารณา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป
ทำปวารณาร่วมกัน โดยเมื่อถึงวันมหาปวารณา ให้ภิกษุเหล่านั้นมา
๑๒ ชี วิ ต ส ม ณะ (ฉบับมหาปวารณา)
www.kalyanamitra.org