การรับฟังคำแนะนำและการให้อภัย ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 122
หน้าที่ 122 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการรับฟังคำแนะนำจากผู้อื่น พร้อมกับการให้อภัยในกรณีที่คำแนะนำนั้นอาจไม่สมบูรณ์ โดยเน้นให้เห็นถึงความปรารถนาดีของผู้อื่นที่มีต่อเรา การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้หมู่คณะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้า รวมถึงเป็นการพัฒนาความบริสุทธิ์ในกาย วาจา และใจของสมาชิกในกลุ่ม

หัวข้อประเด็น

-การรับฟังคำแนะนำ
-การให้อภัย
-ความปรารถนาดี
-การเติบโต
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อาศัยความเอ็นดู มีกำลังใจสูง และมีความปรารถนาดีอย่างเต็มเปี่ยม จริง ๆ จึงจะกล้าที่จะแนะนำตักเตือนได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้รับ การแนะนําตักเตือน โปรดทราบความรู้สึกของผู้เตือนว่า เขามีความ รู้สึกเช่นนี้ และที่ ขุมทรัพย์ให้ก็ไม่ได้ทำเพื่อใคร ก็เพื่อตัวของผู้ที่ ถูกเตือนนั่นเอง ขอบคุณสักนิด และพร้อมคิดให้อภัย เมื่อเราได้รับการแนะนำตักเตือนแล้ว สิ่งที่เราควรทำอย่าง ยิ่ง คือกล่าวคำ “ขอบคุณ” แล้วหันมาพิจารณาตัวเราว่า สิ่งที่เขา เตือนนั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องเราก็ปรับปรุงตัวเสียใหม่ ถ้าหาก ไม่ถูกต้องเราก็ให้อภัยผู้ที่ตักเตือน เพราะการแนะนำตักเตือนในบาง ครั้งอาจยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากผู้เตือนเห็นไม่ครบทุกด้าน แต่อย่างไร ก็ตามในคําแนะนําตักเตือนนั้นมีความปรารถนาดีเจืออยู่ ผู้ที่ได้รับการ ตักเตือนจึงควรให้อภัย ถ้าเราทํากันได้อย่างนี้ หมู่คณะก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การประพฤติปฏิบัติธรรมก็จะก้าวหน้า ต่างเป็นกำลังใจ ต่างช่วยกัน ขัดเกลากายวาจาใจ งกันและกัน ผลที่ได้คือความบริสุทธิ์กายวาจา ใจของหมู่คณะ เป็นความงามของพระพุทธศาสนา เป็นความเลื่อมใส ของพุทธบริษัท และเป็นประเพณีอันดีงามที่เราควรยึดถือปฏิบัติกัน อย่างจริงจัง ประดุจผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ ๔๑ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More