การปวารณาในพระพุทธศาสนา ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 353
หน้าที่ 353 / 407

สรุปเนื้อหา

ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการทำปวารณาเพื่อส่งเสริมการเป็นกัลยาณมิตรให้แก่เพื่อนสหธรรมิก ผลของการปวารณาช่วยให้เกิดการตักเตือน การปรับปรุงตนเอง และก้าวสู่การบรรลุพระนิพพาน การอดทนต่อคำแนะนำเป็นสิ่งที่ยากสำหรับปุถุชน เป็นการสร้างโอกาสให้ปรับปรุงจิตใจเพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการปวารณา
-บทบาทของกัลยาณมิตร
-การบรรลุวัตถุประสงค์การบวช
-ปัญหาความอดทนต่อคำแนะนำ
-การพัฒนาจิตใจในทางธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เราได้ทำปวารณากันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ขอให้ถูกวัตถุประสงค์ของ การปวารณา วัตถุประสงค์หลักก็คือ การให้โอกาสทำหน้าที่กัลยาณมิตร ซึ่งกันและกัน ในกรณีที่ได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเพื่อนสหธรรมิก ท่านใดท่านหนึ่ง มีข้อวัตรปฏิบัติที่จะทำให้ไม่ได้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการมาบวชคือ การทำพระนิพพานให้แจ้ง สลัดตนให้พ้นจากกอง ทุกข์ ไม่ว่าด้วยเหตุอันใดก็ตาม ก็จะมีโอกาสได้แนะนำตักเตือนกัน ได้โดยธรรม ด้วยความรักและปรารถนาดีต่อเพื่อนสหธรรมิกอย่าง แท้จริง เพื่อจะได้หันกลับมาพิจารณาตนเอง ได้สติ เกิดความสลดใจ เกิดธรรมสังเวช หันกลับมาปรับปรุงตัวของตัวเอง ให้เป็นพระแท้ได้ บรรลุวัตถุประสงค์ของการมาบวช เหตุทีต้องมีการปวารณา ที่ปวารณากันอย่างนี้ เพราะโดยปกติของปุถุชนคนมีกิเลสหนา ปัญญาหยาบ ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม โดยทั่วไปสามารถ อดทนต่อดินอากาศฟ้าและทุกสิ่งได้ แม้เข้าสู่สมรภูมิรบก็สามารถ อดทนต่อความทุกข์ยากลำาบาก เสี่ยงภัยขนาดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ก็อดทนกันได้ แต่สิ่งหนึ่งที่อดทนได้ยากคือ ไม่สามารถอดทนต่อ คำแนะนำตักเตือน อบรมสั่งสอนกันได้ มันจะเกิดมีมานะทิฏฐิขึ้นมา ๒๗๒ ชี วิ ต ส ม ณ ะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More