การเป็นกัลยาณมิตรและการตักเตือนในพระพุทธศาสนา ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 288
หน้าที่ 288 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการเป็นกัลยาณมิตรและวิธีการตักเตือนกันตามพระธรรมวินัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและช่วยเหลือกันในทางที่ถูกต้อง โดยมองหลายประเด็นเกี่ยวกับการรับฟังคำแนะนำจากผู้อื่น และการตรวจสอบตัวเองอย่างมีสติ โดยไม่ควรมีอารมณ์โกรธหรือขุ่นเคืองในการรับความคิดเห็นของคนอื่น ซึ่งแตกต่างจากพฤติกรรมในปัจจุบันที่มักจะหาความผิดของผู้แนะนำ แทนที่จะระมัดระวังตรวจสอบตัวเอง ทำให้ทำให้เกิดการพิจารณาตนเองในแง่บวกและเกิดปัญญาในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-การเป็นกัลยาณมิตร
-การตักเตือน
-การรับฟังความคิดเห็น
-การตรวจสอบตนเอง
-การใช้สติในการดำเนินชีวิต
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เป็นที่รวมของน้ำจากห้วยหนองคลองบึง พอไปรวมกันในทะเล ก็มีรสเดียวกัน เสมอกันหมด ดังนั้นต่างก็จะเป็นกัลยาณมิตรให้กัน คอย ขุมทรัพย์แนะนําว่า สิ่งที่เห็นได้ยินหรือสงสัยว่าท่านนั้นท่านนี้ประพฤติปฏิบัติยังไม่ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย จะเป็นเหตุให้เนิ่นช้าต่อหนทางพระนิพพาน ก็ จะตักเตือนกันโดยธรรมวินัย ด้วยความรักความปรารถนาดี เหมือน เศรษฐีชี้หนูตาย หรือคนที่เห็นขุมทรัพย์แล้วก็ชี้ขุมทรัพย์ให้ด้วยความ รักและปรารถนาดี จะได้ปรับปรุงตัวหรือมาพิจารณาตัวเองว่าเป็นอย่าง ที่เขาว่าไหม ในสมัยนั้น เขาจะไม่โกรธ ไม่ขุ่นมัวกัน จะทนต่อคำแนะนำ ซึ่งบางทีมันก็ไม่ตรงกับความคิดของเรา แต่ก็สามารถรับฟังได้ ฟังแล้ว นํามาพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาด้วยเหตุผล เอาใจกลับมาอยู่กับ เนื้อกับตัว ให้มันเกิดดวงปัญญา เอาแสงสว่างแห่งปัญญานั้นมาส่องใจ ตรวจตราดูกายวาจาใจ ถ้าบกพร่องก็แก้ไข แล้วก็ไปกราบขอบพระคุณ ผู้ที่แนะนํา จะไม่ขุ่นมัว ไม่ตามล่ากันเหมือนสมัยนี้ พอมีใครมาแนะนํา มาบอกผู้ปกครองหรือพระเถระ แทนที่จะพิจารณาตัวเอง กลับไปถาม หาว่าใครคนไหนมาบอก มีอารมณ์อยากจะไปศึกษาว่า เขามาจากไหน ชื่ออะไร นามสกุลอะไร ตายแล้วไปไหนอะไรอย่างนั้น สมัยนั้นไม่มีการ ตามล่ากัน มีแต่หยุดใจดู นิ่ง จริงหรือเปล่าที่เขามาแนะนำ ถ้าไม่จริง ก็แล้วไป จริงก็แก้ไข แล้วก็ขอบคุณแค่นั้นเอง ชีวิตนักบวช ชีวิตแห่งบุญบันเทิง ๒๐๗ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More