วันมหาปวารณาและความหมายในสมัยพุทธกาล ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 287
หน้าที่ 287 / 407

สรุปเนื้อหา

วันมหาปวารณาในสมัยพุทธกาลเป็นวันที่ผู้ที่เข้าบวชได้กล่าวคำปวารณากัน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ธรรมเนียม แต่หมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบรรลุพระนิพพาน การบวชมีเป้าหมายเพื่อต่อสู้กับกิเลสและนำความบริสุทธิ์มาสู่ชีวิต อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเป็นพี่น้องในสังคมของนักบวชที่ไม่มีชนชั้นและให้เกียรติซึ่งกันและกันตามอาวุโส การปวารณายังเป็นสัญลักษณ์ของการเข้าใจและเคารพในธรรมวินัยที่ถูกกำหนดโดยพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของวันมหาปวารณา
-วัตถุประสงค์ของการบวช
-การสร้างความสัมพันธ์ในหมู่บรรดาภิกษุ
-อริยประเพณีในสมัยพุทธกาล
-การต่อสู้กับกิเลสและการทำกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วันศุกร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เราก็ได้กล่าวคำปวารณากันเสร็จ วันนี้เป็นวันมหาปวารณา เรียบร้อยแล้ว ในสมัยพุทธกาล การปวารณาซึ่งกันและกันไม่ได้แค่เป็น ธรรมเนียมปฏิบัติอย่างเดียวเท่านั้น แต่ถือเป็นอริยประเพณี ภิกษุทุกรูปที่เข้ามาบวชในสมัยพุทธกาล ต่างมีวัตถุประสงค์หวัง ทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะเห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นชีวิตฆราวาส อึดอัดคับแคบ มีแต่ปัญหาแรงกดดัน แวดล้อมไปด้วยสิ่งที่ทำให้ทุศีล ได้ง่าย จึงตัดสินใจออกบวช ไม่ใช่อกหัก สมัครตน บนตัว หรือกลัวภัย อะไรต่าง ๆ ไม่ใช่ แต่บวชเพราะมีวัตถุประสงค์จะเอาชนะกิเลสที่มัน ย้ายในใจและบังคับให้สร้างกรรม แล้วก็มีวิบากให้วนเวียนกันอยู่ใน สังสารวัฏ เมื่อฟังคำสอนของพระบรมศาสดาก็เกิดกุศลศรัทธาเข้ามา บวช ปลดกังวลแล้วก็ปลอดกังวลจากชีวิตที่วุ่นวาย แล้วก็มาเติมความ บริสุทธิ์กายวาจาใจกันทุกวันทุกคืน พอวันสุดท้ายก่อนออกพรรษา ต่างก็มาปวารณาเพื่อให้ช่วย เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน คือ สมัยก่อนถือว่านักบวชทุกรูปเหมือน เป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นพี่เป็นน้องกัน บวชก่อนเป็นพี่บวชหลัง เป็นน้อง ไม่ว่าจะมาจากวรรณะไหน ชนชั้นไหน จะรวยจะจน จะหล่อ จะขี้เหร่ จะอ้วนจะผอมไม่คํานึงถึง เมื่อเข้ามาบวชอยู่ในธรรมวินัย แล้วก็เสมอกัน และให้เคารพกันตามอาวุโสภันเต เหมือนทะเล ๒๐๖ ชี วิ ต ส ม ณ ะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More