มหาปวารณาและการบวชในสมัยพุทธกาล ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 175
หน้าที่ 175 / 407

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงพิธีมหาปวารณาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งสืบเนื่องตามธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล นักบวชในสมัยนั้นมีความตั้งใจที่จะพ้นทุกข์จากวัฏสงสาร และเข้าใจความทุกข์ของชีวิต เมื่อได้ฟังพระธรรม คำสอนก็เกิดศรัทธาและอยากเข้ามาบวช เพื่อศึกษาธรรมและปฏิบัติให้เข้าถึงนิพพาน การบวชในสมัยพุทธกาลนั้นเป็นการค้นหามรรคผลเพื่อพ้นทุกข์ โดยมีการอยู่จำพรรษาเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกัน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-พิธีมหาปวารณา
-การบวชในสมัยพุทธกาล
-การศึกษาธรรมวินัย
-การปฏิบัติธรรม
-เส้นทางสู่การพ้นทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วันเสาร์ที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เราได้ทำพิธีมหาปวารณากันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตาม ธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลสองพันห้า ร้อยกว่าปีแล้ว นักบวชสมัยพุทธกาลกับมหาปวารณา การบวชในสมัยพุทธกาลนั้นแตกต่างจากในสมัยปัจจุบันนี้ สมัย พุทธกาล ผู้ที่เข้ามาบวช คือ ผู้ที่เห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นว่าชีวิตเป็น ทุกข์ อยากจะแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ เมื่อได้ยินได้ฟังพระธรรมคำสอน ของพระบรมศาสดา ก็เกิดกุศลศรัทธา อยากจะเข้ามาบวชในพระพุทธ ศาสนา เพราะเห็นว่าชีวิตของนักบวชเป็นชีวิตที่มีแก่นสาร ปลอดกังวล จากพันธนาการของชีวิต จะได้มีเวลาว่างศึกษาพระธรรมคำสอนของ พระบรมศาสดา แล้วลงมือปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงความรู้แจ้งเห็นจริงของ ชีวิต และพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น นักบวชในสมัยพุทธกาลนั้น เมื่อออกบวชแล้วก็ตั้งใจ แสวงหามรรคผลนิพพาน ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย ตั้งใจปฏิบัติธรรม อย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพานให้ได้ ต่อมาทรงมีพุทธานุญาตให้มีการอยู่จําพรรษา เพื่อศึกษาพระธรรม วินัย และเพื่อจะได้ปฏิบัติธรรมร่วมกัน และได้กําหนดให้วันสุดท้ายของ ๙๔ ชี วิ ต ส ม ณะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More