ความสำคัญของการนั่งหัตถบาสและการบวชในพุทธศาสนา ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 367
หน้าที่ 367 / 407

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้กล่าวถึงธรรมเนียมการนั่งหัตถบาสที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้นเมื่อครั้งพระองค์มีพระชนมชีพ เพื่อให้เสียงของพระองค์ถึงพระสงฆ์ทั้งหมด แม้ในยุคเทคโนโลยีก็ยังควรรักษาวิธีการนี้ และสืบทอดธรรมเนียมดีๆ นี้ต่อไป ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการบวชซึ่งสามารถทำให้จำนวนพระภิกษุสามเณรเพิ่มมากขึ้น และการบวชนั้นมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อชีวิตของคนเราและสังคมโลก รวมถึงมีการระบุตัวเลขจำนวนพระในปัจจุบันและความแตกต่างกับอดีต โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมายที่จะสร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้มีการบวชมากขึ้นเพื่อพัฒนาจิตใจของผู้คนและสังคม。

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของการนั่งหัตถบาส
- การบวชในพุทธศาสนา
- จำนวนพระภิกษุในปัจจุบัน
- ธรรมเนียมและการสืบทอด
- ประโยชน์ของการบวชต่อชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วันอังคารที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าให้นั่งหัตถบาส” ก็เพื่อให้ได้ยิน ทั่วถึงกัน สมัยก่อนมันไม่มีไมค์ ไม่มีลำโพง เพราะฉะนั้นรูปไหนจะ หาเหตุไม่ได้ว่า ไม่ได้ยิน แต่ความจริงสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายัง ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์มีเสียงมหาบุรุษ พูดได้ยินทั่วถึงกันหมด แต่เพื่อเป็นต้นบุญต้นแบบธรรมเนียมปฏิบัติรุ่นต่อ ๆ ไป เมื่อ พระองค์ดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็จะได้ทำตามนี้ เพราะว่าผู้ที่มี เสียงมหาบุรุษมีเพียงพระองค์เดียว ถึงต้องให้นั่งหัตถบาสเพื่อให้ได้ยิน กันทั่วถึง ถึงแม้เดี๋ยวนี้ยุคไฮเทคเราก็จำเป็นต้องรักษาธรรมเนียม ปฏิบัตินี้ด้วย บวชล้านรูป ปีนี้จํานวนพระภิกษุสามเณรในหมู่คณะของเรา รวมทั้งศูนย์สาขา ภายในและต่างประเทศรวมแล้วทั้งพระทั้งเณรจำนวน ๒,๓๒๘ รูป ก็ ใกล้หมื่นรูปเข้าไปแล้วนะ คงจะมีสักวันเร็ว ๆ นี้นะ รวมแล้วทั่วโลก ต้องเป็นหมื่น ๆ รูป อย่านึกว่าเยอะนะ สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์หนึ่ง ๖,๙๐๐,๐๐๐ รูป หลักหมื่นกับหลักหกล้านมันห่างกัน เยอะ ถ้าเราช่วยกันขยายทำความเข้าใจกับผู้มีบุญทั่วโลกว่า การบวช มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อชีวิตของเราและชาวโลกอย่างไร ก็จะ มีผู้มาบวชเพิ่มขึ้น ๒ ระยะห่างระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทำสังฆกรรมห่างกันคืบหนึ่ง ๒๘๖ ชี วิ ต ส ม ณะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More