การปวารณาและการพัฒนาจิตใจ ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 102
หน้าที่ 102 / 407

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้กล่าวถึงหลักการและการปฏิบัติด้านจิตใจที่สำคัญในการปวารณา โดยเฉพาะในบริบทของการอยู่ร่วมกันในสงฆ์ แสดงแนวทางการไม่ตอบโต้และการรับฟังอย่างตั้งใจ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและการพัฒนา โดยเน้นการพัฒนาอารมณ์ในเชิงบวก และเข้าใจว่าการพูดคุยอย่างมีสาระสำคัญต่อการเจริญเติบโตของจิตใจ คำสอนนี้มาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงเน้นความสำคัญของการปวารณาเพื่อสร้างโอกาสให้กับภิกษุในการพัฒนาตนเองและผู้อื่น.

หัวข้อประเด็น

-การปวารณา
-การพัฒนาจิตใจ
-การไม่โต้ตอบ
-หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
-ความสัมพันธ์ในสงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๕. ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ 5. ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ ๗. เมื่อถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ก็ไม่โต้เถียงโจทก์ ๔. เมื่อถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ก็ไม่รุกรานโจทก์ ๔. เมื่อถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ก็ไม่ปรักปรำาโจทก์ ๑๐. เมื่อถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ก็ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟัง ให้ปรากฏ ของตน ๑๑. เมื่อถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ก็พอใจตอบในความประพฤติ ๑๒. ไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ๑๓. ไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ ๑๔. ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่เจ้ามายา ๑๕.ไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ๑๖. ไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น เมื่อรู้ว่าตนกระทำ ผิดก็ยอมรับได้ง่าย พ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงให้ความสำคัญกับ “การ ปวารณา” เป็นอย่างมาก เนื่องจากทรงเห็นว่า “การปวารณา” จะเป็น ประโยชน์ และเป็นโอกาสแก่ภิกษุที่อยู่จำพรรษาร่วมกัน จะได้ ขุมทรัพย์ คือ การว่ากล่าวแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา กําเนิดวันมหาปวารณา ๒๑ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More