พรรษาแห่งการบรรลุธรรม ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 381
หน้าที่ 381 / 407

สรุปเนื้อหา

พรรษานี้ถูกกำหนดเป็นพรรษาแห่งการบรรลุธรรม โดยมีการบำเพ็ญสมณธรรมอย่างต่อเนื่องแต่มีภารกิจในทางพระศาสนาที่ต้องจัดการร่วมด้วย ในคืนสุดท้ายจะสรุปผลการบำเพ็ญสมณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการบรรลุธรรมให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับหลวงปู่ที่เคยบรรลุธรรมในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เราควรเต็มที่ในความพยายามเพื่อสร้างบารมีในฐานะสมณะและมีแรงบันดาลใจสำคัญจากประวัติศาสตร์ชีวิตของผู้มีความเพียร, การนั่งเป็นวัตรและความสำคัญของการทำตามทางที่ถูกต้อง, เช่นเดียวกับหลวงปู่ของเรา.

หัวข้อประเด็น

-พรรษาแห่งการบรรลุธรรม
-การบำเพ็ญสมณธรรม
-ความสำคัญในการปฏิบัติธรรม
-แรงบันดาลใจจากหลวงปู่
-การสร้างบารมีในฐานะสมณะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓๐๐ ส้ะ แห่งการเข้าพรรษานี้ ตั้งแ ตั้งแต่ต้นพรรษาที่เราได้ตั้งไว้ว่าจะให้เป็นพรรษา แห่งการบรรลุธรรม และเราก็บำเพ็ญสมณธรรมกันมาตลอดตั้งแต่วัน แรกเรื่อยมา ในระหว่างพรรษาก็มีธุระในทางพระศาสนาหลายอย่างที่ เราต้องช่วยกัน อย่างเช่นการบวชกองพันหรือกองพลสถาปนาล้านรูป เพราะฉะนั้นโอกาสบำเพ็ญสมณธรรมบางรูปก็ทำได้เต็มที่ บางรูปก็ไม่ เต็มที่ วันนี้วันสุดท้ายของพรรษา ภารกิจต่าง ๆ ก็เบาบางลงมากแล้ว คืนนี้ควรจะเป็นคืนที่เรามาสรุปสำหรับพรรษานี้ด้วยการบำเพ็ญสมณ ธรรมกันให้เต็มที่ ปกติเขาจะถือเนสัชชิกังคะ” แต่ถ้าใครยังไม่พร้อมก็ เอาเท่าที่ได้ แต่หลวงพ่อว่า ร่างกายเรายังแข็งแรงสดชื่นอย่างนี้ ควรทำให้ เต็มกำลังจะได้เป็นประวัติศาสตร์ชีวิตของการเกิดมาสร้างบารมีในเพศ สมณะ และโดยเฉพาะพรรษานี้จะได้เป็นพรรษาแห่งการบรรลุธรรมของ เราจริง ๆ เมื่อนึกถึงแล้วเราจะได้มีความปลื้มปีติยินดีเหมือนพระเดช พระคุณหลวงปู่ฯ ของเรา ในกลางพรรษาที่ ๑๒ ท่านก็ประกอบความ เพียร ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำา เดือน ๑๐ แล้วก็ได้บรรลุธรรม สิ่งที่เป็นข้อสังเกตก็คือ เมื่อท่านทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่ง แล้วนิ่ง อย่างเดียวจึงบรรลุธรรมได้ ท่านใช้เวลาปฏิบัติธรรมตั้งแต่ 5 โมง เย็นเรื่อยไปกระทั่งถึงเช้า และก็ได้บรรลุธรรมไปตามลำดับ นี่ก็เป็น ประวัติศาสตร์ชีวิตของท่านที่ได้ยินได้ฟังทีไรเราก็จะมีความปลื้มปีติ มีกำลังใจ มีแรงบันดาลใจอยากจะทำอย่างท่านบ้าง ୩ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือ ถือนั่งยืนเดินเท่านั้น ไม่นอน ชี วิ ต ส ม ณ ะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More