ความสำคัญของการปวารณาในพระพุทธศาสนา ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 97
หน้าที่ 97 / 407

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการปวารณาในวันอุโบสถ โดยพระองค์ได้ถามสาวกว่าไม่มีใครติเตียนกรรมของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงแสดงทางที่ถูกต้องจนเป็นที่ยอมรับของสาวกทุกคน พระสารีบุตรและสาวก 500 รูปจึงปวารณาตอบพระองค์ ซึ่งแสดงถึงความเคารพและยอมรับในคำสอนของพระองค์ ดังนั้น การปวารณาจึงเป็นอีกหนึ่งอุดมการณ์ที่ควรได้รับการยกย่อง

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการปวารณา
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-สาวกและการปวารณา
-การติเตียนในพระพุทธศาสนา
-การเดินตามทางที่พระสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ความสําคัญ กับการปวารณา แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเอง ยังทรงให้ความสำคัญกับการ ปวารณาเป็นอย่างมาก ดังเช่นในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ท่ามกลาง พระอรหันตสาวกหมู่ใหญ่ ๕๐๐ รูป ณ พระวิหารบุพพาราม วันนั้น เป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ทรงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่า “บัดนี้เราขอปวารณาต่อเธอทั้งหลาย พวกเธอจะไม่ติเตียน กรรมอะไร ๆ ที่เป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ” เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรประนมอัญชลีไปทางพระ ผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ทั้งหลายติเตียนกรรมใด ๆ อันเป็นไปทางพระกายหรือทางพระวาจา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าพระองค์ ทรงยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังทางที่ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ให้เกิดขึ้นพร้อม ทรงบอกทางที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้ทรงรู้ทาง ทรงรู้ แจ้งทาง ทรงฉลาดในทาง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกทั้งหลายใน บัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง” ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร พร้อมทั้งภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป จึง ได้ปวารณาต่อพระผู้มีพระภาคเช่นเดียวกัน ซึ่งพระองค์ก็ไม่ทรง ๑๖ ชี วิ ต ส ม ณะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More