การทำปวารณาในหมู่คณะ ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 333
หน้าที่ 333 / 407

สรุปเนื้อหา

การทำปวารณาไม่ควรทำเพียงตามธรรมเนียม แต่ควรทำจากใจที่มีความรักและปรารถนาดี โดยทุกคนต้องพร้อมที่จะตักเตือนและรับฟังอย่างเงียบสงบ เพื่อนำมาซึ่งความเข้าใจและประโยชน์ร่วมกัน หากมีข้อขัดข้องก็ต้องมีใจที่เปิดกว้างและให้อภัย ซึ่งการทำปวารณาสามารถนำไปสู่ความสามัคคีและความสงบในหมู่คณะที่มุ่งหวังในการทำงานเพื่อพระศาสนาในระยะยาว

หัวข้อประเด็น

-ปวารณาในหมู่คณะ
-การตักเตือนอย่างสร้างสรรค์
-การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
-การพัฒนาความเข้าใจและความสงบในใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะเกิดการกระทบกระทั่งกันมีสูง เพราะ ฉะนั้นการทำปวารณากัน เราอย่าทำเพียงแค่ธรรมเนียมปฏิบัติ แต่ ควรทำด้วยหัวใจ ด้วยความรักและปรารถนาดีต่อกันอย่างแท้จริง พวกเรามีภารกิจหยาบที่แตกต่างจากที่อื่นเขาทำกัน และงาน ก็ขยายไปเรื่อย ๆ ให้ถือว่าการทำปวารณากันในวันนี้ คือ สัญญาใจ ที่เราได้ตกลงกันไว้ว่า หากได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่า จะทำไม่ถูกต้อง ตามธรรมวินัย หรือเกี่ยวกับเรื่องงานการต่าง ๆ เราจะอนุญาตให้ ตักเตือนได้ โดยเราจะไม่ขุ่นมัว ไม่ขัดเคืองใจ ผู้ที่จะตักเตือนหรือแนะนำผู้อื่นก็ต้องดูจังหวะ โอกาส ความ เหมาะสม กาลเทศะ และอารมณ์ของเขาด้วย ต้องเป็นข้อมูลที่แท้จริง พูดไปแล้วเกิดประโยชน์ต่อท่านผู้นั้น ต่อหมู่คณะส่วนรวมถึงจะ แนะนำ ส่วนผู้ที่ได้รับการตักเตือนก็ต้องทำใจให้นิ่ง ๆ รับฟังไว้ด้วยดี ด้วยใจที่สงบ อย่าให้สูญเสียความสงบของใจ พิจารณาดูว่าเรื่องที่ เขาเตือนนั้นจริงไหม ถูกต้องไหม ถ้าเป็นเรื่องจริงเราก็ต้องแก้ไข ถ้า สมมติว่า เรื่องนั้นไม่จริงหรือจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เพราะข้อมูลคลาด เคลื่อนก็ให้อภัย ไม่ถือสา และขอโอกาสชี้แจงให้เหตุผล แต่อย่าให้ เป็นการถกเถียงกัน จนเป็นเหตุให้เกิดการร้าวฉาน ทะเลาะเบาะแว้ง เมื่อเราชี้แจงแล้วก็ต้องรับฟังซึ่งกันและกัน โดยมุ่งประโยชน์สุข ของเรา ของผู้ที่เตือน ของหมู่คณะ และของงานพระศาสนา ๒๕๒ ชี วิ ต ส ม ณ ะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More