การทำใจให้หยุดนิ่ง ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 155
หน้าที่ 155 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการทำใจให้หยุดนิ่งเพื่อลดความเครียดและปรับปรุงนิสัยที่เร่งรีบ ซึ่งเกิดจากความเคยชินในการแข่งขันของชีวิต ชี้ให้เห็นว่าความตั้งใจอาจทำให้เราติดนิสัยการลุ้นที่ไม่จำเป็น และจำเป็นต้องมีการฝึกฝนเพื่อให้ใจสงบและเข้าถึงธรรมกาย เพื่อความสงบสุขทางจิตใจและการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น ความตั้งใจที่จะหยุดและให้ใจเรียบง่ายจะนำไปสู่ความสมปรารถนาในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการทำใจให้หยุดนิ่ง
-ผลกระทบของความเครียดในชีวิต
-นิสัยการเร่งรีบและการแข่งขัน
-วิธีการเข้าถึงธรรมกาย
-การปรับปรุงนิสัยด้วยการปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นี่เป็นเพราะเรามองข้ามสิ่งที่เรานึกไม่ถึงกัน ไปทำแบบหยุดกด ๆ ตั้งใจมาก จึงไม่สมหวัง ลุ้นร้ายยิ่งกว่าเสือ ความตั้งใจมากร้ายยิ่งกว่าเสือ เพราะเสือมัน อยู่ในป่า แต่ลุ้นอยู่ใกล้ตัวเรา ติดตัวเราตลอดเวลา ไม่ว่าเราจะไปที่ไหน ทำอะไร มันก็ติดตัวเราไป ลุ้นจนกระทั่งติดเป็นนิสัย เป็นความเคยชิน และแก้ยาก บางทีติดอย่างนี้ไป ปี ๒๐ ปี ก็มี ความฟุ้งนั้นถึงแม้เราจะมีเรื่องอื่นที่เราคิดกันมากมายแค่ไหน แต่มันก็ยังมีช่องว่างให้เราหยุดได้บ้างเป็นช่วง ๆ หรือความเคลิ้ม บางทีเราหลับไปตื่นขึ้นมายังสดชื่น แต่ว่าความตั้งใจมากที่จะให้เราหยุด เรานิ่ง จะเอาให้ชัด ให้ใส ให้ได้ดังใจ นี้คือสิ่งที่ร้ายมาก เพราะฉะนั้น ต้องพยายามแก้ไขตรงนี้ให้ได้ เหตุที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะใจเราไม่เย็นพอ เนื่องจากว่าตลอด ชีวิตที่ผ่านมา ก่อนที่เราจะอุปสมบทนั้น ชีวิตถูกกระแสอันเชี่ยวกราก ของการแข่งขันในการดำรงชีพ หล่อหลอมให้ต้องเร่งรีบ เร่งร้อน ต้อง ต่อสู้ การหล่อหลอมนั้นทำให้เราเกิดความเคยชินจนติดเป็นนิสัย เมื่อถึงเวลาในการปฏิบัติธรรม เราก็นำนิสัยนั้นเข้ามาใช้กับการปฏิบัติ จึงไม่ได้ผล ดังนั้น ถ้าเราสมัครใจที่จะเข้าถึงธรรมกายจริง ๆ แล้ว ไม่มีทาง เลือกอื่นใด นอกจากทําใจให้หยุดนิ่งเฉย ๆ อย่างสบาย ๆ ให้สม่ำเสมอ โดยไม่เร่งรีบ ไม่เร่งร้อน ทำอย่างนี้ แค่นี้ เราก็จะสมปรารถนากัน ๗๔ ชี วิ ต ส ม ณะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More