การปวารณาของภิกษุในพระพุทธศาสนา ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 94
หน้าที่ 94 / 407

สรุปเนื้อหา

การปวารณาคือการประกาศให้ภิกษุทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน โดยเริ่มจากภิกษุที่มีพรรษามากที่สุดสู่พรรษาน้อยที่สุด ในระหว่างการปวารณาทุกรูปต้องนั่งกระหย่ง และวันปวารณามี ๒ วัน คือ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ. สำหรับภิกษุผู้เถระจะกล่าวปวารณาก่อน ๓ ครั้ง และท่านจะได้รับการตักเตือนจากผู้อื่นเมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-การปวารณา
-ภิกษุ
-วันปวารณา
-พระพุทธศาสนา
-การประชุมสงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประชุมกัน แสดงอาบัติต่อกันแล้ว ให้ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศตั้งญัตติ (การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน) ให้สงฆ์ทำปวารณา โดยเริ่มต้นจากภิกษุผู้มีพรรษามาก ไปจนถึงภิกษุผู้มีพรรษาน้อยที่สุด ตามลำดับ ค ภิกษุผู้เถระมีพรรษามากกว่าทั้งหมดนั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวปวารณาก่อน ๓ ครั้ง (โดยให้ภิกษุที่มีพรรษาอ่อนกว่าปวารณา ทีหลัง) ว่า “ท่านทั้งหลาย (“ท่านผู้เจริญ” ใช้สําหรับภิกษุผู้มีพรรษาอ่อน กว่ากล่าวกับภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า) กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วย ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัย (ว่ากระผมทำผิด) ก็ดี ขอท่าน ทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป” ในระหว่างการปวารณา ทุกรูปต้องนั่งกระหย่ง รูปไหนปวารณา เสร็จแล้วจึงจะนั่งบนอาสนะได้ วันทําปวารณา ต่อมา ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า วันปวารณามีกี่วัน จึงน่าเรื่องไป กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงรับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย วันปวารณานี้มี ๒ วัน คือ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ อาการที่นั่งคุกเข่าเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้งสองรับก้น กําเนิดวันมหาปวารณา ๑๓ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More