พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าและวิสุทธิปวารณา ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 101
หน้าที่ 101 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงเรื่องราวของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้าและการทรงทำวิสุทธิปวารณาท่ามกลางภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นคนว่าง่ายในพระพุทธศาสนา โดยระบุว่า ภิกษุที่เป็นผู้ว่าง่ายและอดทนจะได้รับการแนะนำและการสอนจากเพื่อน พิจารณาคุณธรรมที่ทำให้ว่าง่าย เช่น การไม่ปรารถนาลามก ไม่ยกตน ไม่โกรธ และการไม่ผูกโกรธในทีนี้ มีความสำคัญต่อการพัฒนาตนเองในทางธรรม

หัวข้อประเด็น

-พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
-วิสุทธิปวารณา
-ความสำคัญของการเป็นคนว่าง่าย
-ธรรมที่ทำให้คนว่าง่าย
-การพัฒนาตนเองในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ทรงทำวิสุทธิปวารณาท่ามกลางภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ซึ่งบวชภายในพรรษานั้น ณ กรุงสรณะ ในการประชุม พระสาวก ครงท ๑ ธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย ในทางปฏิบัติ แม้ภิกษุบางรูปจะได้ปวารณาให้สหธรรมิกว่ากล่าว ตักเตือนตนเองได้แล้วก็ตาม แต่หากภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทนต่อ คำพร่ำสอน ก็คงไม่มีใครกล้าแนะนำหรือตักเตือนอยู่นั่นเอง ทำให้ ภิกษุนั้นเสียโอกาสที่จะได้แก้ไขพัฒนาตนเอง ให้ก้าวหน้าในพระธรรม วินัยไปอย่างน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ในทางกลับกัน หากภิกษุใดเป็นผู้ว่าง่าย อดทนต่อคำสั่งสอน แม้จะไม่ได้ปวารณาไว้ แต่เพราะความว่าง่าย ย่อมทำให้ เพื่อนภิกษุ ทั้งหลายอยากแนะนำพร่ำสอนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนั้น ภิกษุผู้หวังความเจริญในพระพุทธศาสนานี้ จึงควรประกอบ ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่ายเหล่านี้ คือ ๑. ไม่มีความปรารถนาลามก ไม่ลุแก่อำนาจแห่งความปรารถนาลามก ๒. ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ๓. ไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ถูกครอบงำด้วยความโกรธ ๔. ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ๒๐ ชี วิ ต ส ม ณ ะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More