การอยู่ในลู่กับสหธรรมิก ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 238
หน้าที่ 238 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการมีสหธรรมิกในการเดินทางสู่พระนิพพาน โดยบอกว่าบุคคลที่มีอ่อนหัดอาจต้องการการสนับสนุนจากเพื่อน และการรับฟังคำแนะนำจากเพื่อนนั้นมีความยาก เนื่องจากทิฏฐิมานะในตัว การเตือนนั้นควรมีความรับรู้และยอมรับว่าเป็นการมอบสมบัติที่ช่วยชี้แนะให้เราเดินทางได้ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของสหธรรมิก
-ความท้าทายในการรับฟังคำแนะนำ
-การเดินทางสู่พระนิพพาน
-การตักเตือนและการยอมรับข้อบกพร่อง
-อิทธิพลของทิฏฐิมานะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สหธรรมิกให้อยู่ในลู่ จะได้ไม่หลุดออกจากลู่และเป้าหมายที่ตั้งใจ เอาไว้คือทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะนี่คือเป้าหมายหลักของ การบวช สำหรับผู้ที่อินทรีย์อ่อนที่บางครั้งสอนตัวเองได้บางครั้งสอน ตัวเองไม่ได้ ก็จำเป็นจะต้องมีผู้อื่นมาช่วยสอน การที่จะรับฟังคำแนะนำ ตักเตือนจากเพื่อนสหธรรมิกนี่ ไม่ใช่ของง่ายเลย เพราะทิฏฐิมานะ ในตัวมันบังคับอยู่ตลอดเวลา หรือพูดง่าย ๆ คือ ความดื้อในตัว ของเรามันมีอยู่ เพราะฉะนั้นใครจะมาตักเตือนก็มักจะขุ่นมัว น้อยใจ บ้าง ผูกโกรธกันบ้าง เวลาทําสมาธิใจก็ฟุ้งซ่าน หรือทํากิจอะไรก็ตาม ใจจะไม่ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปวารณากันว่า ถ้าใครได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าข้าพเจ้าหากทําไม่ถูกต้องตามธรรมวินัย ชักจะออกนอก ลู่นอกทางของพระและเป้าหมายที่จะทำพระนิพพานให้แจ้งแล้ว ให้ ตักเตือนได้ แล้วก็จะคิดว่า การเตือนนั้นเป็นการชี้ขุมทรัพย์ เหมือน มอบสมบัติใหญ่ให้เรา เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะโกรธ ก็ควรจะขอบคุณ ที่เขาช่วยชี้แนะตักเตือนข้อบกพร่องของเรา แต่ว่าบางครั้งคำแนะนำ ตักเตือนนั้น อาจจะถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะว่าถ้าเห็นก็ไม่มีปัญหา อาจจะ ถูกมากกว่าผิด แต่ถ้าได้ยินมา หรือสงสัย คือ ดูอากัปกิริยาท่าทางแล้ว น่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็มีถูกมีผิด อภิบูชามหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ๑๕๗ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More