การเข้าสู่พระนิพพานและการปฏิบัติธรรม ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 196
หน้าที่ 196 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการฟังธรรมและปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง โดยเน้นให้มีจิตใจหยุดนิ่งที่กลางกายฐานที่ ๗ โดยมุ่งสู่การเข้าถึงพระนิพพาน การที่เรามาร่วมกันในวันมหาปวารณาคือการสนับสนุนกันให้ไปสู่จุดหมายคืออายตนนิพพาน ไม่ว่าจะบวชระยะสั้นหรือระยะยาว สิ่งที่สำคัญคือต้องมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการบวช ดำเนินการตามคำสอนนี้จะช่วยให้เราเปิดประตูสู่ที่สุดแห่งธรรมและรู้จักขุมทรัพย์ในตัวเรา

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของการหยุดใจ
- การปฏิบัติธรรมในฐานที่ ๗
- ความหมายของการบวช
- รอยเท้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- การเป็นกัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพราะฉะนั้น เมื่อจะรับฟังธรรมก็ดี โอวาทก็ดี หรือจะปฏิบัติ ภารกิจอันใดก็ดี ใจจะต้องจรดหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงกลางกายฐานที่ ๗ ให้ ได้ตลอดเวลาจึงจะเป็นนักบวชที่สมบูรณ์ ในวาระนี้เป็นวาระที่เราจะได้มาระลึกนึกถึงคำสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าพร้อม ๆ กัน ก็จะต้องเอาใจของเราหยุดไปตรงกลางกาย ฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นทางที่เราจะเข้าถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในตัวของเรา คือ พระธรรมกาย จนกระทั่งเข้าไปถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่าน ดับขันธปรินิพพานนานมาแล้ว มีพระธรรมกายปรากฏอยู่ในอายตน นิพพานนับอสงไขยพระองค์ไม่ถ้วน ดังนั้นให้ทำใจให้หยุดในหยุด หยุดให้นิ่ง ๆ ให้ใจใส ใจสบาย ให้ใจปราศจากอุปกิเลสทั้งมวล เดินตามรอยเท้าพ่อ วันนี้เป็นวันมหาปวารณา คือ วันที่เราทั้งหลายได้มาประชุมพร้อม กัน เพื่อที่จะช่วยประคับประคองซึ่งกันและกันให้ไปสู่จุดหมายปลาย ทางของชีวิตคืออายตนนิพพาน การปวารณากันในวันนี้ก็คือการเป็น กัลยาณมิตรให้แก่กันนั่นเอง ลูกทุกรูปที่เข้ามาบวช ไม่ว่าจะบวชในระยะสั้น บวชไปเรื่อย ๆ หรือ ปฏิญาณตนบวชตลอดชีวิตก็ตาม เราต่างทราบกันดีอยู่แล้วว่า วัตถุประสงค์ ของการบวช คือ การทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะฉะนั้นจะบวชระยะสั้น หรือบวชระยะยาวไม่สำคัญ สำคัญว่าต้องมีความเข้าใจอย่างนี้ ชี้ขุมทรัพย์ เปิดประตูสู่ที่สุดแห่งธรรม ๑๑๕ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More