การให้และรับคำตักเตือน ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 203
หน้าที่ 203 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงวิธีการให้และรับคำตักเตือนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดความขุ่นมัวและการโกรธเคือง โดยเน้นว่าคำตักเตือนควรจะมีความปรานีและปราศจากเจตนาที่จะทำร้ายกันอีกทั้งให้เข้าใจถึงหัวใจของผู้ที่พูดเตือน ในบางกรณีก็อาจต้องมีการเตือนในทันทีเมื่อมีเรื่องร้ายแรง โดยต้องใช้ภาษาที่สวยงามและอ่อนหวานในการสื่อสารเพื่อความเข้าใจที่ดีที่สุด การสื่อสารที่ดีจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม

หัวข้อประเด็น

-การให้คำตักเตือน
-การรับคำตักเตือน
-เทคนิคการสื่อสาร
-การเข้าใจอารมณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่จะไปแนะนำตักเตือนกันด้วยความปรารถนาดี ดูจังหวะเวลาและ อารมณ์ให้ดีให้พร้อม ยกเว้นว่าเป็นเรื่องร้ายแรง ถ้าปล่อยไว้แล้วจะเสียหายอย่าง มากมายต่อส่วนรวมหรือส่วนตัวก็ดี นี่ถือเป็นกรณียกเว้น ไม่ต้อง ดูเวลาและอารมณ์ สามารถเตือนกันตอนนั้นได้เลย แต่อย่างไรก็ตาม ให้เราปรับปรุงถ้อยคำให้ดี ให้เป็นถ้อยคำที่ใคร ๆ ก็พร้อมที่จะ รับฟังได้ เหมือนน้ำตาลที่เคลือบเม็ดยาอย่างนั้น แต่ในประเด็นนี้ มักจะมีเป็นส่วนน้อย เพราะว่าพวกเราทุกคนต่างใฝ่ดีกันอยู่แล้ว สิ่งที่จะนํามาซึ่งความเสียหายโดยเจตนานั้นไม่มี ส่วนใหญ่มักจะโดย ไม่เจตนา เมื่อได้รับการชี้ขุมทรัพย์ ส่วนผู้ที่ได้รับค่าตักเตือนก็ต้องตั้งสติให้ดี เอาใจตั้งอยู่ตรงกลาง รับฟังด้วยใจที่เป็นปกติ อย่าให้ขุ่นมัว เพราะผู้ที่ตักเตือนนั้น ถ้าให้เขา เลือกระหว่างอยู่เฉย ๆ กับมาเตือนเรา เขาอยากอยู่เฉย ๆ มากกว่า จะได้ ไม่มีใครโกรธ ผูกพยาบาท จองเวร เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจหัวใจ เขาด้วย เราจะต้องตั้งสติรับฟังด้วยใจที่เป็นปกติ ไม่ขุ่นมัว ให้เขาพูด แนะนำตักเตือนให้ครบถ้วนบริบูรณ์เสียก่อน ถ้าหากว่าสิ่งที่เขาได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยนั้นมันผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป ถ้าหากสามารถคุย กันได้ เราจะชี้แจงก็ชี้แจงด้วยใจที่เป็นปกติ ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน ๑๒๒ ชี วิ ต ส ม ณ ะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More