การศึกษาพระพุทธศาสนาและการลาสิกขา ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 271
หน้าที่ 271 / 407

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความไม่ตรงกันในข้อมูลการเกิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ และอธิบายข้อควรพิจารณาสำหรับผู้ที่คิดจะลาสิกขา โดยเน้นการสำรวจความจำเป็น และการดำรงชีวิตตามหลักธรรม เพื่อสร้างบารมีในชีวิตประจำวัน.

หัวข้อประเด็น

-การเกิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การลาสิกขา
-การศึกษาธรรม
-การสร้างบารมี
-ข้อคิดสำหรับฆราวาส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อย่างการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ แต่ละตำรับตำราไม่ตรงกันเลย ใน ๖๔ อันตร กับหลัง บางตำราก็บอกว่า เกิดขึ้นในอันตรกัปที่ 4 บ้าง พระกกุสันโธ อันตรกัปที่ ๘ พระโกนาคมนะ อันตรกัปที่ ๙ พระกัสสปะ อันตรกัปที่ ๑๐ พระสมณะโคดม อันตรกัปที่ ๑๑ เรียงกัน แต่บางตำราเขาบอกไม่ ตรงกัน แล้วเราจะยึดถืออันไหนเป็นแบบ นี่ก็เป็นสิ่งที่ชวนให้เราต้อง ศึกษาค้นคว้า ถ้าไปอยู่ในเพศฆราวาสไม่มีเวลาศึกษา ต้องเสียเวลาไป คิดเรื่องทำมาหากิน เรื่องครอบครัว โอวาทสําหรับผู้ที่ลาสิกขา ถ้าใครไม่จำเป็นจริง ๆ อย่าเพิ่งลาสิกขา แต่ถ้าจำเป็นเพราะลา ราชการลางานมาก็เอา หรือมีครอบครัวต้องเลี้ยงบุตรภรรยาก็เอา แต่ ลาสิกขาไปแล้วก็อย่าลืมประพฤติปฏิบัติธรรม สร้างบารมี เพราะเรา เกิดมาสร้างบารมีนะลูกนะ บางท่านที่จะลาสิกขา หากสามารถอยู่รับกฐินได้ก็ควรจะอยู่ แล้วก็ควรจะปลงผมให้หัวมันสามัคคีกัน อย่าไปเสียดายผม บางรูป เสียดายจะลาสิกขาแล้วไม่อยากปลงผม เก็บผมไว้ก่อน พอลาสิกขา แล้วมันจะได้ยาว สั้นได้มันก็ยาวได้นะลูกนะ เพราะฉะนั้นปลงไปซะ ถ้าจะอยู่รับกฐินนะ ໆ ลาสิกขาออกไปแล้ว ออกไปด้วยหัวใส ๆ โหงวเฮ้งดี เอาบุญไป ฝากทุกคน ใครเห็นจะได้ชื่นใจ และเราควรจะตอบด้วยความภาคภูมิใจ ๑๙๐ ชี วิ ต ส ม ณะ (ฉบับมหาปวารณา) www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More