การหยุดนิ่งและการเข้าถึงธรรม ชีวิตสมณะ (ฉบับมหาปวารณา) หน้า 154
หน้าที่ 154 / 407

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาแสดงถึงความสำคัญของการหยุดใจและการเข้าถึงธรรมภายในตัวเรา โดยเน้นว่าการทำใจให้หยุดนิ่งโดยไม่ต้องตั้งความหวังหรือความต้องการ จะช่วยให้เราสามารถเข้าถึงสิ่งที่ละเอียดอ่อนในจิตใจได้ง่ายขึ้น หากทำได้อย่างสม่ำเสมอจะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติและการเข้าถึงนิพพาน นอกจากนี้ยังเตือนถึงความตั้งใจมากเกินไปเป็นอุปสรรคในการทำสมาธิ ซึ่งอาจทำให้จิตไม่ละเอียดตามที่ต้องการโดยต้องทำใจให้ได้โดยไม่กดดัน.

หัวข้อประเด็น

-ธรรมะที่อยู่ภายใน
-การทำใจให้หยุดนิ่ง
-ความสำคัญของการปฏิบัติ
-อุปสรรคในการเข้าถึงนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เหมือนหญ้าปากคอก เรื่องที่นึกไม่ถึงนั้นเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เป็นแต่เพียงว่าเราจะใช้สติปัญญาพิจารณา กันดีหรือไม่ แต่เรื่องที่นึกไม่ถึงสิ่งนี้สิเป็นสิ่งที่สำคัญทีเดียว นั่น คือเราได้ทราบดีแล้วว่า ธรรมกายหรือธรรมะที่อยู่ภายในตัวของ เรา จะเป็นดวงธรรมก็ดี เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ พรหม อรูปพรหม หรือกายธรรมก็ดี เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัว ไม่ใช่เป็นสิ่ง ที่เราสร้างขึ้น แต่ว่าเป็นของละเอียดซ้อนกันเข้าไปข้างในเรื่อย ๆ หน้าที่ของเราก็คือ ทำใจให้ละเอียดเท่ากับสิ่งละเอียดที่มีอยู่ แล้วภายในเป็นชั้น ๆ เข้าไป เราก็จะเห็นไปตามลำดับขั้นตอน ใจ จะละเอียดได้ ต้องทำสิ่งที่เรานึกไม่ถึงอย่างง่าย ๆ แล้วเราก็จะเข้าถึง ได้ง่าย ๆ สิ่งที่นึกไม่ถึงนั้นก็คือ ทำใจให้หยุดนิ่งเฉย ๆ อย่าง สบาย ๆ ให้อารมณ์สม่ำเสมอ โดยไม่มั่นหมายอะไร แม้ ไม่มีภาพอะไรเกิดขึ้น เราก็นิ่งเฉยอย่างใจเย็น ๆ ทำอย่างนี้ แค่นี้เท่านั้น ถ้าหาอย่างนี้ไม่ช้าก็จะสมหวัง ลุ้นร้ายกว่าเสือ สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้ที่สมัครใจไปพระนิพพาน นอกเหนือจากความฟุ้งกับความเคลิ้มแล้ว ก็คือความตั้งใจมาก พยายามที่จะทําใจให้หยุดนิ่งเฉย เรามักจะหยุดแบบกด ๆ กัน เพราะอยากให้เห็นเร็ว ๆ ชัดเร็ว ๆ เมื่อทำอย่างนี้ใจมันไม่ละเอียด www.kalyanamitra.org สมัครใจไปนิพพาน ๗๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More