การกำจัดนิวรณ์ 5 ผ่านการทำสมาธิ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 18
หน้าที่ 18 / 111

สรุปเนื้อหา

นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันทะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ทำให้จิตใจไม่สงบและเศร้าหมอง เปรียบเสมือนกว่าทองคำที่มีมลทิน การทำสมาธิเป็นวิธีในการกำจัดนิวรณ์เหล่านี้เพื่อความก้าวหน้าและความสงบสุขของชีวิต ทางพระพุทธศาสนาจึงแนะนำให้รักษาจิตให้บริสุทธิ์จากอากันตุกกิเลสเหล่านี้ การเปรียบเทียบแต่ละนิวรณ์กับสถานการณ์ในชีวิต เช่น ลูกหนี้และการถูกทวงหนี้ ช่วยให้เข้าใจถึงความทุกข์ที่เกิดจากการถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำ

หัวข้อประเด็น

-นิวรณ์ 5
-กามฉันทะ
-พยาบาท
-สมาธิ
-การทำความสะอาดจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. เหล็ก(อโย) 2. ทองแดง(โลห์) 3. ดีบุก(ติปุ) 4. ตะกั่ว(สีส์) 5. เงิน(สชฺฌ์) ถ้าสิ่งทั้ง 5 นี้เข้าปลอมปนในทองคำแล้ว ทองคำนั้นจะไม่สวย ไม่อ่อน และใช้การไม่ได้ดี ข้อนี้ฉันใด จิตของคนเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งปกติเป็นจิตประภัสสร ผ่องใส แต่ถูกนิวรณ์ 5 อันเป็นอาคันตุกกิเลส เข้ามาก่อกวนให้เศร้าหมอง ให้วุ่นวาย ให้เดือดร้อน ฉะนั้นทางพระพุทธศาสนาจึงสอนให้กำจัดนิวรณ์ทั้ง 5 ด้วยการทําสมาธิ นิวรณ์ทั้ง 5 ชนิด เป็นตัวกิเลสที่ทำลายความเจริญก้าวหน้าและความสงบสุขของมนุษย์มาก เพราะ เหตุนี้เอง ในพระไตรปิฎกท่านจึงเปรียบกิเลสทั้ง 5 ชนิดนี้ไว้ ดังนี้ 1. กามฉันทะ เปรียบเสมือนลูกหนี้ 2. พยาบาท เปรียบเสมือนโรค 3. ถีนมิทธะ เปรียบเสมือนการถูกจองจำในเรือนจำ 4. อุทธัจจกุกกุจจะ เปรียบเสมือนการเป็นทาส 5. วิจิกิจฉา เปรียบเสมือนการเดินทางไกลกันดาร 1. กามฉันทะ เปรียบเสมือนลูกหนี้ คือคนที่เป็นลูกหนี้เขาย่อมไม่โปร่งใจ มักจะกังวลใจ เพราะ คิดอยู่เสมอว่า เจ้าหนี้จะมาทวงหนี้บ้าง คิดว่าจะต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นบ้าง หรือคิดว่าหากไม่รีบชำระ หนี้เขาอาจจะถูกยึดทรัพย์สินที่นำมาประกันเขาไว้บ้าง จึงไม่สบายใจ เดือดร้อน คนที่ถูกนิวรณ์เข้าครอบงำ ก็เหมือนกัน ย่อมหาความสงบที่แท้จริงไม่ได้ อีกประการหนึ่ง ผู้ที่เป็นหนี้เขา แม้จะถูกเจ้าหนี้ทวงถามด้วยคำหยาบ ก็ไม่อาจโต้ตอบอะไรได้ ต้อง สู้ทนนิ่งเฉย เพราะเป็นลูกหนี้เขา แต่ถ้าเมื่อใดชำระหนี้หมดสิ้นแล้ว ย่อมมีทรัพย์เหลือเป็นกำไร ย่อมมี อุปกิเลสสูตร สังยุตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 30 ข้อ 467 หน้า 248, อังคุตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 23 หน้า 32. * ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 ข้อ 126 หน้า 323. บ ท ที่ 1 อุ ป ส ร ร ค ใ น ก า ร ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม DOU 9
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More