อุทธัจจกุกกุจจะและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 71
หน้าที่ 71 / 111

สรุปเนื้อหา

บทที่ 5 ของหนังสือกล่าวถึงอุทธัจจกุกกุจจะ ซึ่งเป็นอุปสรรคหนึ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่สามารถเข้าสู่สมาธิ ความฟุ้งซ่านเป็นอุปสรรคที่ทำให้จิตใจไม่สงบ โดยมีลักษณะการกระจายไปในอารมณ์ต่างๆ บทนี้จะอธิบายลักษณะของอุทธัจจกุกกุจจะและแนะนำวิธีการแก้ไขเพื่อนักปฏิบัติ รวมถึงการเข้าใจจิตใจที่ฟุ้งซ่านและความสำคัญในการพัฒนาใจเพื่อให้สามารถเห็นความจริงได้มากขึ้น สำหรับเนื้อหาที่น่าสนใจนี้สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ความฟุ้งซ่านในการทำสมาธิ
-ลักษณะของอุทธัจจกุกกุจจะ
-วิธีการแก้ไข
-ผลกระทบของความฟุ้งซ่านต่อจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 5 อุทธัจจกุกกุจจะและวิธีแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นนักปฏิบัติใหม่ หรือนักปฏิบัติเก่าที่ฝึกสมาธิมานานพอสมควร ต่างก็จะพบว่า อุปสรรค ตัวสำคัญตัวหนึ่ง ที่ทำให้ใจของเราไม่เคยหยุดนิ่ง เข้าถึงความเป็นสมาธิ นั่นคือความฟุ้ง บางคนฟุ้งมาก ถึง ขนาดตั้งแต่เริ่มต้นของการนั่ง จนกระทั่งจบรอบการนั่ง ใจไม่ได้หยุดนิ่งเลย บางคนก็ฟังในช่วงแรก และใจ ค่อยๆสงบขึ้น แต่บางคนก็อาจจะเกิดอาการฟุ้งหลังจากที่นั่งไปนานๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ เราต่างก็เคยเจอกันไม่ มากก็น้อย สารพันความคิดที่ปรากฏขึ้นมาในใจเหล่านี้นี่แหละนับเป็นอุปสรรคตัวสำคัญตัวหนึ่งที่ทำหลายๆคน รู้สึกเบื่อที่จะนั่งสมาธิ บางครั้งรู้สึกว่านั่งแล้วไม่ได้อะไรเลย เพราะมีแต่ความคิดผุดขึ้นมา ซึ่งความฟุ้งซ่าน นี้เป็นนิวรณ์หนึ่งในนิวรณ์ 5 เช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรจะได้มาทำความรู้จักกับอุปสรรคตัวนี้ และจะได้หา วิธีการแก้ไขต่อไป 5.1 ลักษณะของอุทธัจจกุกกุจจะ โดยปกติธรรมชาติของจิตใจมนุษย์มีสภาพกวัดแกว่ง ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ หวั่นไหวในทุก สภาวะอารมณ์ที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นดีใจ เสียใจ เมื่อจิตหวั่นไหว สภาวะของจิตที่เคยเป็นประภัสสร คือ ใส สว่างบริสุทธิ์ก็จะมัวหมอง ไม่บริสุทธิ์สะอาด ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของใจลดลง เมื่อจิตเกิด ความคิดฟุ้งซ่าน ปัญญาย่อมอ่อนกำลัง เมื่อปัญญาอ่อนกำลัง ก็ไม่สามารถพิจารณาให้เห็นประโยชน์ของตน ประโยชน์ของผู้อื่น ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ไม่สามารถรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ ดังมีอุปมาไว้ใน สังคารวสูตร ว่า จิตที่ถูกอุทธัจจะกุกกุจจะครอบงำ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่ถูกลมพัดไหวกระเพื่อมเป็นคลื่น คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ทางภาษาบาลี เรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจะ เป็นนิวรณ์ข้อที่ 4 อุทธัจจกุกกุจจะ มาจากคำสองคำผสมกัน คือ อุทธัจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน อึดอัด กลัดกลุ้ม กังวล ทำให้เกิดความเครียด ความหงุดหงิด ใน คำไทย ใช้ว่า อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน ความประหม่า ความขวยเขิน หน้า 1384 กุกกุจจะ หมายถึงความรำคาญใจ ความวิตก กังวล ทำให้อึดอัด กลุ้มใจ อุทธัจจะกุกกุจจะ แปลรวมกันว่า ความฟุ้งซ่านและรำคาญ *อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 416 หน้า 193. ทองดี สุรเตโช, พระธรรมกิตติวงศ์, พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุด คำวัด, (กรุงเทพฯ เลี่ยงเชียง, 2548), 62 DOU สมาธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิธี แก้ไข ใ น ก า ร ทำสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More