ข้อความต้นฉบับในหน้า
ควานหา ว่าศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อยู่ตรงไหน ควานหากันทั้งชั่วโมง 2 ชั่วโมง ก็เลยเสียเวลา ทำให้จิต
หยาบ ไม่ได้อะไร เอาเป็นว่าฐานที่ 7 อยู่ในกลางท้องเหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้ว จำแค่นี้พอ ในแง่การปฏิบัติ
จริงๆ นั้นนะ เราก็ทำความรู้สึกนึกคิด หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านใช้คำว่า เอาเห็น เอา เอาคิด เอารู้ ทั้ง
สี่อย่าง รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ฐานที่ 7
5. ไม่ว่าจะมีภาพอะไรเกิดขึ้นทำเฉยๆ เรามีหน้าที่ดูประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ดูไปเฉยๆ
การที่เราดูไปเฉยๆ เราไม่ได้เอาความคิดมาใช้ ความคิดจะไม่เข้ามาแทรก ถ้าเราสงสัยใจเราจะไม่เป็นหนึ่ง
ไม่เป็นเอกัคคตา เพราะฉะนั้น ดูไปเฉยๆ ดูปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนผู้เจนโลก ดูแล้วจิตใจเป็นปกติ
ไม่ยินดียินร้ายอะไร ถ้าดูเฉยๆ ประสบการณ์ภายในจะดีมาก
6. ถ้าใจหยุดไม่สมบูรณ์ ประสบการณ์จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอน ไม่ต้องไปกังวลใน
ประสบการณ์ แม้บางครั้งไม่เป็นไปตามขั้นตอนก็ตาม ดูไปก่อน ดูไปเรื่อยๆ จิตก็จะบริสุทธิ์ไปเรื่อยๆ
หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ แต่พอถูกส่วนแล้วจะเป็นไปตามขั้นตอน ไม่มีลัดขั้นตอน แล้วตอนนั้นก็จะเห็น
ความแตกต่างของประสบการณ์ที่เป็นไปตามขั้นตอนกับประสบการณ์ที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนว่าแตกต่าง
กันอย่างไร
7.6 ความกลัว
7.6.1 ลักษณะของความกลัว
ในขณะนั่งสมาธิ นักปฏิบัติธรรมหลายท่าน เกิดมีอาการเหล่านี้ขึ้น คือ บางคนรู้สึกเหมือนตกจากที่สูง
หรือตกเหว บางคนถูกดูดลงไป บางคนรู้สึกตัวขยาย บางคนก็รู้สึกตัวหนักอึ้ง หรืออึดอัด บางทีรู้สึก
เหมือนหายใจไม่ออก กำลังจะตาย บางครั้งมีอาการตัวยืด ขยาย ย่อ คว่ำไปข้างหน้า หงายมาข้างหลัง
หมุน ตกจากที่สูง ขนลุก น้ำตาไหล หัวใจเต้นแรง เป็นต้น เมื่อเกิดอาการเหล่านี้หลายท่านจึงกลัวเพราะ
เราไม่รู้ว่าจะเจออะไรข้างใน พลอยคิดไปว่าตัวเองจะต้องตาย หรือจะเกิดอะไรที่ไม่ดี จึงทำให้กลัวการนั่งสมาธิ
7.6.2 สาเหตุ
อาการดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น เป็นอาการที่ใจเริ่มละเอียด คือ มีการเปลี่ยนแปลงของสภาวะ
จิตจากหยาบไปหาละเอียด เป็นสภาพที่ใจกำลังเริ่มเป็นสมาธิมากยิ่งขึ้น
7.6.3 วิธีแก้ไข
1. เวลาใจกำลังลงให้ดูเฉยๆ ให้ยอมตายสักครั้งหนึ่งแล้วเกิดใหม่เป็นธรรมกาย คือไม่กังวลอะไร
นั่งสบายๆ ปล่อยชีวิตไปเลย ปล่อยอารมณ์ฟุ้ง เคลิ้ม เครียด ทิ้งลงไปเลย
บทที่ 7 อุ ป ส ร ร ค ต่าง ๆ และวิธีแก้ไข
DOU 99