การพิจารณากรรมและการให้อภัยในชีวิตประจำวัน MD 203 สมาธิ 3  หน้า 50
หน้าที่ 50 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการพิจารณาความเชื่อในเรื่องกรรม ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน ผลของกรรมส่งผลต่อความรู้สึกและชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่อเกิดความไม่พอใจหรือโกรธ การให้อภัยจึงเป็นวิธีหนึ่งในการลดความทุกข์ และพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น การมองโลกในแง่ดีและการเข้าใจว่าผู้อื่นอาจทำผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ ช่วยลดความเครียดและการผูกพยาบาทได้ นอกจากนี้ บทความยังเตือนให้เห็นโทษของความโกรธที่อาจนำไปสู่อบายภูมิ และขอให้มองความทุกข์ที่เกิดจากความโกรธเป็นโอกาสในการฝึกความมีขันติบารมีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-กรรมและผลกรรม
-การมองโลกในแง่ดี
-การให้อภัยเป็นบุญ
-โทษของความโกรธ
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.3.3 การพิจารณาถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน คือพิจารณาถึงเรื่องกฎแห่งกรรม ว่า สัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ใครสร้างกรรมอันใดไว้ ย่อมต้องรับผลกรรมนั้นๆ สืบไป การที่เราเจอ เหตุการณ์ที่ไม่ดีในครั้งนี้ ก็คงเป็นเพราะกรรมเก่าที่เราได้ทำเอาไว้ สำหรับคนที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้นั้น เขา ก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองในวันข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคิดสอนเตือนตนว่า การโกรธผู้อื่นก็เป็น เช่นเดียวกับผู้ปรารถนาจะจับถ่านไฟที่คุโชน เหล็กอันร้อนจัดและอุจจาระ เป็นต้น ประหารผู้อื่น ส่วนคน อื่น เขาโกรธเรา เขาจักทำอะไรได้ เขามาด้วยกรรมของตนก็จักไปตามกรรมของเขานั่นแหละ ความโกรธ นั้น ก็จักย้อนกลับไปสู่เขานั่นเอง เหมือนประหารผู้ไม่ประหารตอบ และเหมือนขว้างทรายทวนลมฉะนั้น และ ให้มีความรู้สึกสงสารผู้ที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้ ว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย เพราะเมื่อเขาทำแล้ว ต่อไป เมื่อกรรมนั้นส่งผล เขาก็จะต้องเป็นทุกข์ทรมานเพราะกรรมนั้น 3.3.4 การทำให้มากซึ่งการพิจารณา คือ มองโลกในแง่ดีให้เห็นว่าคนที่ทำให้เราไม่พอใจนั้น เขา คงไม่ได้ตั้งใจหรอก เขาคงทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด หรือถูกเหตุการณ์บังคับ ถ้าเขารู้ หรือเลือกได้เขาคงไม่ทำอย่างนั้น คิดถึงหลักความจริงที่ว่า คนเราเมื่ออยู่ใกล้กัน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกใจคนอื่น ได้ เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เพราะคงไม่มีใครสามารถทำให้ถูกใจคนอื่นได้ตลอดเวลา แม้ตัวเราเองก็ยังเคยทำให้ คนอื่นไม่พอใจเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อคนอื่นทำไม่ถูกใจเราบ้าง ก็ย่อมจะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรจะถือ โทษผูกโกรธ อาฆาตพยาบาทกันให้เป็นทุกข์กันไปเปล่าๆ อะไรเลย พิจารณาถึงคุณของการให้อภัย ว่าอภัยทานนั้นเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นการทำบุญโดยไม่ต้องเสีย คิดเสียว่าเป็นการฝึกจิตของตัวเราเองให้เข้มแข็งขึ้น โดยการพยายามเอาชนะใจตนเอง เอาชนะ ความโกรธ และขอบคุณผู้ที่ทำให้เราโกรธที่ให้โอกาสในการฝึกจิตแก่เรา ให้เราได้สร้างและเพิ่มพูนขันติบารมี พิจารณาด้วยคำสั่งสอนตักเตือนตนเองอีกว่า การมีโทสะนั้นเป็นเหตุนำเราไปสู่อบายภูมิ การที่ เราต้องไปอบายภูมิ ไม่ใช่คนมีเวรทำให้เรา เราทำตัวของเราเอง โดยอำนาจของความโกรธนั้นต่างหาก ทั้ง พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า คนที่จะไม่เคยเป็นมารดา บิดา พี่น้อง บุตรธิดากันในโลกนี้ไม่มี ฉะนั้นคนที่มี เวรกับเรานี้ ชาติใดชาติหนึ่งในอดีตคงจะได้เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเรามาแล้ว ไม่ควรถือโทษโกรธเคืองกันเลย พิจารณาโทษของความโกรธ และการผูกพยาบาท ว่าคนที่โกรธก็เหมือนกับจุดไฟเผาตัวเอง ทำให้ ต้องเป็นทุกข์เร่าร้อน หน้าตาก็ไม่น่าดู แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็มีแต่คนโง่ กับ คนบ้าเท่านั้นที่ผูกโกรธเอาไว้ และผลของความโกรธ ผูกพยาบาท อาฆาต เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมทำให้เกิด เป็นแผลเป็นติดตัว ติดใจเราไป ยากที่จะลืมเลือน มีตัวอย่างเรื่องของพ่อสอนเด็กน้อยคนหนึ่งให้เป็นแง่คิด ดังนี้ บ ท ที่ 3 พ ย า บ า ท แ ล ะ วิ ธี แก้ไข DOU 41
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More