การทำสมาธิและการควบคุมจิตใจในความมืด MD 203 สมาธิ 3  หน้า 79
หน้าที่ 79 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการทำสมาธิและการควบคุมจิตใจ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่มืด ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดภาพสยดสยองในจิตใจ การฝึกจิตให้มีจุดที่มั่นคงเป็นสิ่งจำเป็นในการลดความฟุ้งซ่าน และให้เข้าถึงความรู้สึกสงบ เมื่อจิตไม่ได้อยู่ที่ศูนย์กลาง จะส่งผลให้เกิดความคิดมากและภาพที่ค้างในใจมากมาย การหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรรับรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อจิตค้นหาแห่งความสบาย เมื่อพบก็จะหยุดนิ่ง การฝึกฝนความสามารถของจิตใจนี้จะช่วยให้สามารถทำสมาธิได้ง่ายขึ้นอย่างมากในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-หลักการทำสมาธิ
-การควบคุมจิตใจ
-การเลือกสิ่งที่ควรเห็น
-ความฟุ้งซ่านในจิตใจ
-พระราชภาวนาวิสุทธิ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่ออยู่คนเดียวในที่มืด ก็อาจจินตนาการถึงภาพสยดสยองที่ตนเองชอบดู ปรุงแต่งจิตจนเห็นต้นไม้กลาย เป็นปิศาจไปได้ เป็นต้น ทวารเป็นทางเข้ามาของสื่อที่เราได้รับอยู่ 6 ทาง คือ ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ตาต้องเลือกดูใน สิ่งที่ควรดู หูฟังในสิ่งที่ควรฟัง จมูกดมในสิ่งที่ควรดม ลิ้นลิ้มรสในสิ่งที่ควรลิ้ม เอากายสัมผัสในสิ่งที่ควรสัมผัส ใจรับสิ่งที่ควรรับ ถ้าสื่อที่เข้ามาทางทวารใดแล้วเป็นเหตุให้เราเกิดความฟุ้งซ่าน ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่ง เหล่านั้นเสีย พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้ขยายความเรื่องใจรับในสิ่งที่ควรรับทำให้ใจไม่สบาย เลย เป็นเหตุให้เมื่อเข้ามานั่งสมาธิต้องหาอารมณ์สบายไปเรื่อยๆ ท่านกล่าวว่า “ทำไมฟุ้ง ทำไมคิดหลายเรื่อง เพราะจิตกำลังหาที่สบาย เมื่อยังไม่พบที่ชอบก็แสวงหาต่อไป เมื่อพบที่ชอบก็หยุด เหมือนนกกระโดดหากิ่ง ไม้ จากกิ่งนั้นไปกิ่งนี้ พอพบที่ชอบก็หยุด” การที่เราเกิดมาในโลก ได้เห็นโลกทำให้เราได้สั่งสมภาพเหล่านั้นเก็บไว้ในใจ เมื่อถึงเวลาภาพนั้น ก็มาปรากฏ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ท่านเรียก ภาพที่เราคุ้น คน สัตว์ สิ่งของ สิ่งที่ไม่ได้เรื่องได้ราว สิ่งที่ค้างอยู่ในใจจะปรากฏว่า “ฟัง” เพราะใจแสวงหาที่พัก เลยฟุ้งไปเรื่อย แสวงหา ไปเรื่อย เลยเกิดภาพเยอะแยะ ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต การสะสมภาพโดยที่เราไม่ฝึกใจให้อยู่ที่ศูนย์กลางกาย เมื่อปฏิบัติจึงเกิดความยากโดยเฉพาะผู้ใหญ่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ท่านกล่าวว่า “ที่มันยาก เพราะเราไม่คุ้นเคยเลยที่จะเอาใจมาอยู่ตรงนี้ มันมีแต่ ออกไปทางลูกนัยน์ตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย นึกคิดเรื่อยเปื่อยไป แต่พอให้เอามาอยู่ตรงนี้ ที่ฐานที่ 7 มันจึงยากตอนแรก ยากสำหรับผู้ใหญ่ ง่ายสำหรับเด็ก เพราะว่าเด็กนั้นน่ะ ระบบประสาทของ เขา ทั้งกาย วาจา ใจ ยังบริสุทธิ์อยู่ ยังไม่ได้รับการหล่อหลอมด้วยระบบของความคิดว่าจะเอาอย่างไร จะ ทำอย่างไร เอาที่ไหน เอากะใคร อะไรต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น คิดว่าจะเอายังไง เอาที่ไหน เอากับใคร มัน เลยทำให้ใจฟัง เพราะฉะนั้น ความฟุ้ง คิดไปในเรื่องต่างๆ เพราะจิตกำลังหาที่สบาย เมื่อยังไม่พบที่ชอบ ก็แสวงหาต่อไป เมื่อพบที่ชอบก็หยุด เหมือนนกกระโดดหากิ่งไม้ จากกิ่งนั้นไปกิ่งนี้ พอพบที่ชอบก็หยุด การ ที่มีความคิดเหลือเฟือ ไม่ใช่ว่าฝึกจิตไม่ได้ เพราะความคิดเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของจิต และเมื่อความ ฟุ้งเกิดขึ้น อาจเห็นเป็นภาพที่เราคุ้น เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เป็นสิ่งที่ค้างอยู่ในใจ หรือ อาจได้ยินเป็นเสียงดังออกมา ซึ่งอันที่จริงแล้วความฟุ้งไม่ได้เป็นอุปสรรคมากมายสำหรับการทำสมาธิ เพราะ เราเป็นมนุษย์ธรรมดา จำต้องเจอเป็นธรรมดา ถ้าเราเข้าใจ และไม่ไปสนใจ ทำเฉยๆ จากฟุ้งมาก ก็จะฟัง น้อย จากฟุ้งน้อย ก็จะหายฟุ้ง และไม่ช้าใจก็จะหยุดนิ่งเอง” 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 4-16 กรกฎาคม 2537. - พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 10 ตุลาคม 2545 70 DOU ส ม า ธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิธี แก้ไข ใ น ก า ร ทำสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More