ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในเรื่องการปรารภความเพียร พระพุทธองค์ได้ทรงให้แนวทางหนึ่งคือการอ้างเหตุทำความเพียร
ในทุกกิจกรรม ซึ่งมีอยู่ 8 ประการดังนี้
1. เมื่อจะต้องทำงาน มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน เราไม่สะดวกที่จะ
จรดใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะปรารภความเพียร เพื่อเข้าถึงธรรมที่ควรเข้าถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
2. ทำงานเสร็จแล้วมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำงานอยู่ เราไม่สะดวก
ที่จะจรดใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะปรารภความเพียร เพื่อเข้าถึงธรรมที่ควรเข้าถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
3. เมื่อจะต้องเดินทาง ก็มีความคิดว่า เราจะต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ เราไม่สะดวกที่จะ
จรดใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะปรารภความเพียร เพื่อเข้าถึงธรรมที่ควรเข้าถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
4. เดินทางไปถึงแล้ว ก็คิดว่า เราเดินทางถึงแล้ว เมื่อเราเดินทาง เราไม่สะดวกที่จะจรดใจในคำ
สอนของพระพุทธเจ้า เราจะปรารภความเพียร เพื่อเข้าถึงธรรมที่ควรเข้าถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
5. คิดอย่างนี้ว่า เราแสวงหาอาหาร อาหารก็ไม่เพียงพอแก่ความต้องการและก็ไม่ประณีต กว่า
จะได้ก็เหน็ดเหนื่อย เราไม่สะดวกที่จะจรดใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะปรารภความเพียร เพื่อเข้า
ถึงธรรมที่ควรเข้าถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
6. คิดอย่างนี้ว่า เราแสวงหาอาหาร อาหารก็เพียงพอแก่ความต้องการและประณีต เมื่อได้มา
แล้วก็ต้องเหน็ดเหนื่อย และไม่สะดวกที่จะจรดใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราควรจะปรารภความเพียร
เพื่อเข้าถึงธรรมที่ควรเข้าถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
7. เมื่อป่วยเล็กน้อย ก็มีความคิดว่า เราป่วยเล็กน้อย การที่โรคของเราจะกำเริบขึ้น มีโอกาสเป็นไปได้
เราจะปรารภความเพียร เพื่อเข้าถึงธรรมที่ควรเข้าถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่
ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
8. เมื่อหายป่วย ก็คิดว่า เราหายจากไข้ได้ไม่นาน การที่โรคจะกำเริบ มีโอกาสเป็นไปได้ เราจะ
ปรารภความเพียร เพื่อเข้าถึงธรรมที่ควรเข้าถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้
ทําให้แจ้ง
บ ท ที่ 4
ถ น ม ท ธ ะ แ ล ะ วิ ธี แก้ไข DOU 53