ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความฟุ้งนี้ก็มีระดับแตกต่างกัน คือ
1. ฟุ้งหยาบ คือ ความฟุ้งที่บังคับไม่ได้ เป็นภาพ และเสียง หรือเป็นทั้งภาพและเสียง
2. ฟุ้งละเอียด คือ ใจหยุดนิ่ง แต่เริ่มมีความคิดว่าจะนึกอะไร หรือบางคนคิดว่าใจนิ่งขนาดนี้แล้ว
ไม่เห็นอะไร เช่น คิดว่าใจเรานิ่งขนาดนี้แล้ว ไม่ฟุ้งแล้ว มันน่าจะมีอะไรให้เห็น ให้น่าชื่นใจหรือได้เห็นอย่าง
ที่คนอื่นเห็นบ้าง ทำไมเราไม่เห็นอย่างนั้น หรือคิดว่ามันนิ่งหรือเปล่า เช่นนี้ เป็นความฟุ้งละเอียด ฟุ้งภายใน
ถึงแม้ว่าจะเป็นกุศลก็ตาม แต่ว่าเป็นความฟุ้ง
ความฟุ้งซ่านที่แสดงตัวนี้ สำหรับผู้ฝึกใหม่มักปรากฏเป็นความคิดที่ควบคุมไม่ได้ เกิดขึ้นอย่าง
ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยจนบางครั้งอาจจะเกิดความรู้สึกไม่เป็นสุขและคิดเร็วความคิดแล่นไปเรื่อย คิดถึงเรื่องในอนาคต
สร้างสถานการณ์ขึ้น และนึกถึงผลลัพธ์ของสิ่งที่อาจจะไม่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความกลัวและความกังวล หรือ
อาจจะคิดถึงล่วงหน้าไปอนาคตสองวัน สองสัปดาห์ สองปี สิบปี หรือจิตอาจจะไปขุดคุ้ยความจำเก่าๆ ขึ้น
มา ทำให้เกิดความรู้สึกผิด หรือเศร้าใจหงุดหงิดขึ้นมาในใจ สิ่งนี้ทำให้จิตล่องลอยไปไม่อยู่กับปัจจุบัน และ
อาจจะทำให้เกิดอาการหงุดหงิดทำให้อยากเลิกนั่งสมาธิ ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้แม้ไม่รู้สึกเมื่อยแต่อย่างใด
คนบางคนก็มีความฟุ้งซ่านมาก มักคิดอะไรเรื่อยเปื่อยจนกระทั่งลืมตัว และก็เข้าใจว่าจิตของตน
เป็นสมาธิดี เพราะสามารถนั่งได้นานๆ นั่งได้นิ่งๆ และก็รู้สึกว่าสบาย คนประเภทนี้เมื่อออกจากสมาธิมาแล้ว
เขาก็จะบอกว่าเขาไม่ได้คิดอะไรเลย ใจของเขาว่าง การที่บอกว่าไม่ได้คิดอะไร ก็เพราะความคิดของเขา
ฟุ้งซ่านมากจนกระทั่งไม่ทราบว่าตัวเองคิดอะไรออกมาบ้าง แบบเดียวกับคนที่นอนหลับแล้วก็ฝันเปะปะ
เรื่อยเปื่อย ตื่นขึ้นมาแล้วก็จำอะไรไม่ได้ ก็เลยเข้าใจว่าตนเองไม่ได้ฝัน ดังนั้นคนที่ฟุ้งซ่านแบบนี้จึงหลง
เข้าใจผิดว่าสมาธิของตัวเองดี
5.2 สาเหตุของอุทธัจจกุกกุจจะ
5.2.1 เจตโสอรูปสมะ
ในพระไตรปิฎก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวถึงสาเหตุของความฟุ้งไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ
ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังเจตโสอรูปสมะ (ความไม่เข้าไปสงบแห่งจิต
ด้วยสมถะและวิปัสสนา)”
คือใจของคนเราถ้าไม่สงบ เช่น ตกใจกลัว มีความหวาดเสียว มีความกังวล ผิดหวัง มี
'อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 32 ข้อ 15 หน้า 47.
64 DOU ส ม า ธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิธี แก้ไข ใ น ก า ร ทำสมาธิ