ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมและการพักผ่อน MD 203 สมาธิ 3  หน้า 64
หน้าที่ 64 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการจัดการกับความง่วงนอนในขณะที่ปฏิบัติธรรม โดยเสนอแนวทางจากพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ให้เราพักผ่อนอย่างชาญฉลาด และการควบคุมการบริโภคอาหารเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อการปฏิบัติธรรม โดยการกำหนดนิมิตในการรับประทานอาหารและการดื่มน้ำตามเพื่อสุขภาพที่ดีรวมถึงจิตใจที่บริสุทธิ์ ซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติธรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มารู้จักวิธีการที่ทำให้เราทั้งสบายและไม่ง่วงกันดีกว่า

หัวข้อประเด็น

-ความง่วงในการปฏิบัติธรรม
-การพักผ่อนที่ถูกต้อง
-การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
-การจัดการจิตใจขณะปฏิบัติธรรม
-หลักการของการนอนหลับอย่างชาญฉลาด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต้องง่วง ไม่อยากง่วง อันจะทำให้เกิดความไม่พอใจตามมา และทำให้เราเหนื่อยอ่อนยิ่งขึ้น รวมถึงจะทำให้ เบื่อในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น แต่ถ้าจำเป็นต้องพักจริงๆ ในขณะพัก พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ก็ได้ มีข้อแนะนำคือ “ถ้าพักผ่อน เมื่อคืนนอนน้อยก็ต้องปล่อยให้นั่งหลับให้มันหลับไปแต่อย่าไปนอนหลับ นอนหลับ แล้วไปเลยนั่งหลับคอตกสักพัก พอสดชื่นก็ทำต่อ แค่นี้ เดี๋ยวหายและเมื่อไหร่เราหาความพอดีได้ใจมันวางพอดี มันสบายไม่ง่วงเลย ถ้าสบายมีความสุขข้างใน ความง่วงไม่มีเลยหายหมด เคยสังเกตไหมเวลานั่งดีๆแล้ว ไม่ง่วงเลย ไม่ง่วง นั่งทั้งคืนยังได้เลย” และหากจะต้องนอนหลับ ก็ต้องนอนหลับอย่างชาญฉลาด คือ “ต้องหลับอย่างผู้มีปัญญา อย่างบัณฑิตนักปราชญ์ หลับแล้วต้องได้บุญ หลับแล้วจิตต้องบริสุทธิ์ ไปด้วย หลับแล้ว ยังอาจจะเป็นต้นทางให้เราได้เข้าถึงธรรม ก็คือหลับที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 กลางอู่ แห่งทะเลบุญ” 4.3.3 อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค นอกจากนี้ ในอรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค ยังได้กล่าวถึงธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละ ถีนมิทธะ คือ 1. การกำหนดนิมิตในโภชนะส่วนเกิน คือ การกำหนดประมาณในการบริโภค โดยใช้หลักว่า อีก 4-5 คำ จึงจะอิ่ม และพิจารณาให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ในการกิน ว่ากินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน และ การตามใจปากใจท้องมากจนเกินไป นอกจากจะทำให้มีผลเสียต่อการปฏิบัติธรรมแล้ว ยังผลเสียถึง สุขภาพอีกด้วย พระสารีบุตรท่านได้ให้สูตรในการรับประทานอาหารที่พอเหมาะคือ อีก 4-5 คำจะอิ่มให้ดื่มน้ำ ตามลงไป ก็จะพอดีอิ่ม ท่านกล่าวว่า “เมื่อบริโภคอาหาร จะเป็นของสดหรือของแห้งก็ตาม ไม่ควรติดใจจนเกินไป ควรเป็นผู้มีท้อง พร่องมีอาหารพอประมาณ มีสติอยู่ การบริโภคอาหารยังอีก 4-5 คำจะอิ่ม ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำเป็นการ สมควร”4 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 29 พฤษภาคม 2541 - พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 16 กรกฎาคม 2545 3 ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 14 หน้า 322. * ขุททกนิกาย เถรคาถา, มก. เล่ม 53 ข้อ 396 หน้า 229. บ ท ที่ 4 ถ น ม ท ธ ะ แ ล ะ วิ ธี แก้ไข DOU 55
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More