วิธีการแก้ไขความลังเลสงสัยในการทำสมาธิ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 105
หน้าที่ 105 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาความลังเลสงสัยในการทำสมาธิ โดยเน้นเรื่องการน้อมเข้าหาศูนย์กลางกาย และวิธีการสร้างความผ่อนคลายระหว่างการปฏิบัติสมาธิ เพื่อให้เกิดการเห็นนิมิตอย่างชัดเจนและไม่เกิดความสงสัยในกระบวนการ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายว่าความลังเลสงสัยที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำสมาธิ เช่น การสงสัยในความถูกต้องของนิมิต รวมถึงกรณีความสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจเป็นสิ่งที่สามารถพบเจอได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการปล่อยให้จิตใจนิ่งและสบาย ก่อนที่จะเข้าสู่การทำสมาธิที่มีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

- วิธีการทำสมาธิ
- การแก้ไขความลังเลสงสัย
- ความสงสัยในนิมิต
- ศูนย์กลางกาย
- การผ่อนคลายระหว่างการทำสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.4.2 วิธีแก้ไข อย่าเพิ่งไปกังวลว่ามันอยู่ข้างนอกไม่อยู่ข้างใน ขอให้เห็นขึ้นมาก่อน แล้วตอนหลังเมื่อเราทำใจนิ่งๆ พอถูกส่วนแล้ว เดี๋ยวจะดึงดูดเข้ามาในศูนย์กลางกายในภายหลัง คำว่าน้อม ไม่ได้หมายถึงไปบังคับให้เข้ามา ถ้าไปบังคับก็จะหาย วิธีน้อมที่ถูกต้อง คือทำใจ ให้หยุดนิ่ง เฉยๆ ที่ศูนย์กลางกาย สมมุติว่าภาพนิมิตอยู่ข้างหน้า ใจเราก็นิ่งๆ เฉยๆ แล้วสังเกตร่างกายและจิตใจ ช่วงนั้น ถ้าร่างกายปลอดโปร่ง เบา สบาย จิตใจเบิกบาน นิมิตจะใสขึ้น ชัดเจนขึ้น ละเอียดขึ้นถึงตอนนี้ นิมิตจะลงมาเอง เข้ามาเอง ไม่ต้องไปทำอะไร การเห็นนิมิตนอกตัวไม่ผิดวิธีอะไร เพราะทุกคนทราบแล้วว่าเป้าหมายของเราอยู่ที่ศูนย์กลาง กายฐานที่ 7 เริ่มต้นจากข้างนอกก่อนก็ได้ หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านก็ให้เริ่มต้นจากดวงข้างนอก แล้วจึงเอา เข้ามา เมื่ออยู่ตรงนั้นสบายใจ ก็ให้อยู่ตรงนั้นไปก่อน จนกว่าจะมีความรู้สึกว่านิมิตนุ่มนวลจึงเอาเข้ามา การเห็นนิมิตนอกตัว ให้ถือเป็นจุดเริ่มต้น ยังไม่ใช่จุดที่แท้จริง แต่ถ้าจุดเริ่มต้นทำให้ใจเราสบาย ก็ไม่ผิดวิธีอะไร ถ้าเราบอกว่าผิดวิธี เขาจะสับสนไม่สบายใจ สิ่งที่ทำต้องไม่มีอะไรผิด เพียงแต่ไม่ถูกเท่านั้นเอง เหมือนคนยืนอยู่นอกห้อง ยังไม่พร้อมที่จะเข้ามาในห้องก็ยืนให้สบายเสียก่อนให้สบายอกสบายใจ ให้ดู ดอกไม้ ต้นไม้ พอรู้สึกอารมณ์ดีก็ค่อยเข้ามา มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลที่เราจะยืนนอกห้องก่อน เพียงแต่เรายืน ชั่วคราว แล้วเป้าหมายเราจะเข้ามาในห้อง จงบอกเขาว่าไม่ได้ผิดอะไร เป็นแต่เพียงไม่ถูก หน้าที่ของเรา คือทำให้ถูก ค่อยๆ ประคองเข้ามา เดี๋ยวจะเข้าสู่เป้าหมาย อย่าลืมว่า คำว่า “ผิด” อย่าไปพูด ให้หาวิธีการใหม่ ทุกอย่างต้องให้เขาสบายใจ พอทุกอย่างสบายอะไรก็ง่าย 7.5 ความลังเลสงสัย 7.5.1 ลักษณะของความสงสัย นิวรณ์ตัวนี้ คือ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย มีตั้งแต่ความลังเลสงสัยในเรื่องธรรมะทั่วๆไป เช่น เรื่อง นรกสวรรค์มีจริงหรือ บุญบาปมีจริงหรือ เป็นต้น รวมทั้งความลังเลสงสัยเมื่อเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติสมาธิ เช่น 1. พอเห็นอะไรขึ้นมา ก็เกิดความสงสัยว่า “อะไร” เลยหายไป 2. บางทีนั่งเงียบแต่ไม่มีอะไรให้ดู ก็สงสัยว่าทำไมนิ่งเงียบผิดปกติ สงสัยผิดวิธี 3. บางคนนึกนิมิตเห็น ก็สงสัยว่าคิดขึ้นมาเองหรือเปล่า ใช่ของจริงหรือเปล่า 4. บางคนวางใจที่ศูนย์กลาง แต่ก็สงสัยว่า ใช่ศูนย์กลางกายหรือเปล่า 96 DOU สมาธิ 3 อุปสรรค และวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More