กามฉันทะและวิธีแก้ไข MD 203 สมาธิ 3  หน้า 27
หน้าที่ 27 / 111

สรุปเนื้อหา

บทที่ 2 นี้จะพูดถึงกามฉันทะซึ่งเป็นนิ่วรณ์อย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อสมาธิ โดยจะอธิบายลักษณะของกามฉันทะ ทั้งจากวัตถุกามและกิเลสกาม รวมถึงวิธีการแก้ไข เพื่อช่วยให้จิตใจสงบและมีสมาธิมากขึ้น ความเข้าใจเกี่ยวกับกามฉันทะสามารถช่วยลดการพึ่งพาความสุขจากสิ่งภายนอก และทำให้เราหันมาให้ความสำคัญกับจิตใจตัวเองแทน เช่น การลดการยึดติดในวัตถุกามและการพัฒนาวิธีการคิดที่ปราศจากกิเลส นอกจากนี้ บทนี้ยังอธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างกามฉันทะกับปัญหาทางจิตใจที่อาจก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการทำสมาธิ และโอกาสในการพัฒนาความจริงจังในจิตใจเพื่อการเติบโตทางจิตวิญญาณ สิ่งนี้จึงเป็นแนวทางเพื่อเข้าใจและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากกามฉันทะ ซึ่งช่วยให้เรามีสมาธิที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต. dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-กามฉันทะ
-ลักษณะของกามฉันทะ
-วัตถุกาม
-กิเลสกาม
-วิธีแก้ไขเพื่อสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 2 กามฉันทะและวิธีแก้ไข ในบทที่ 1 ได้กล่าวถึงอุปสรรคต่อจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งได้แก่นิวรณ์ 5 และอุปกิเลส 11 ในบทนี้จะ ได้กล่าวถึงกามฉันทะ ซึ่งเป็นนิวรณ์ประการหนึ่งใน 5 ประการ ซึ่งจะเน้นลักษณะ สาเหตุของกามฉันทะ และวิธีแก้ไขเมื่อเกิดกามฉันทะ เพื่อลดหรือขจัดความพอใจ รักใคร่ ทะยานอยาก ฟุ้งฝัน เพลิดเพลินกับภาพ หรือเหตุการณ์เหล่านั้นที่ปรากฏขึ้น ซึ่งทำให้ใจของเราไม่สงบนิ่งเป็นสมาธิ ดังนั้นเราจึงควรที่จะมาทำความ รู้จักอุปสรรคตัวนี้ว่าคืออะไร เป็นอย่างไรและจะได้หาวิธีแก้ไข เพื่อให้ใจของเราสงบเป็นสมาธิได้ยิ่งๆ ขึ้นไป 2.1 ลักษณะของกามฉันทะ กามฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ ความปรารถนา ความต้องการ เพลิดเพลินอยู่ในกามคุณ 5 อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ที่เราพอใจรักใคร่ คำว่า กาม นี้ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม 1. วัตถุกาม หมายถึง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งเป็นสิ่งภายนอก อันเป็นที่ชอบใจ รวมความ ตั้งแต่ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย บ้าน ที่ดิน เมือง ประเทศ คนรับใช้ สัตว์เลี้ยง แพะ แกะ ไก่ ช้าง โค ม้า เงิน ทอง คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อย่างใด อย่างหนึ่ง 2. กิเลสกาม หมายถึง ความรักใคร่ ความพอใจ หรือความยินดีที่มีอยู่ในจิตใจ ความกำหนัด ความ พอใจและความกำหนัด, ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือ ความใคร่ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความ เสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ความประกอบในกาม ความ ยึดถือในกาม นั่นคือ ตัวกิเลส ราคะ ที่เข้าไปยึดมั่นในวัตถุกาม จึงเกิดเป็นกิเลสขึ้นมาได้ ในโลกมนุษย์ใบนี้ ได้รับการขนานนามว่า กามภพ หรือกามโลก เพราะเป็นภพที่สัตว์โลกยังข้อง ยังเอร็ดอร่อยอยู่กับการบริโภคกาม กามเป็นสิ่งสวยหรูที่มนุษย์ทั้งหลายเฝ้าคอยแสวงหา เพราะเห็นว่า เป็นทางมาแห่งความสุข มนุษย์มีกิเลสกามนอนเนื่องอยู่ภายในจิตใจ ต่อเมื่อได้พบกับวัตถุกามอันเป็นที่พึงใจ กามฉันทะจึงปรากฏเกิดขึ้น และแสดงตัวออกมาทางพฤติกรรม พฤติกรรมที่แสดงออกมานี้ รวมตั้งแต่ความใคร่ ขุททกนิกาย มหาวรรค, มก. เล่มที่ 65 ข้อ 2 หน้า 2 - ขุททกนิกาย มหาวรรค, มก. เล่มที่ 65 ข้อ 2 หน้า 2 18 DOU สมาธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิ ธี แก้ ไ ข ใ น ก า ร ท ส ม า ธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More