ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในส่วนของความคิดไม่แยบคายนับเป็นสาเหตุสำคัญ เพราะการที่คนรับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความรู้สึกหรือเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมปรากฏเป็นอาการอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ การที่รู้สึกสุขทำให้เกิดความยินดี ชื่นชอบ คล้อยตาม ติดใจ ใฝ่รัก
อยากได้ ถ้ารู้สึกทุกข์ ก็ยินร้าย ขัดใจ อยากเลี่ยงหนี ถ้ารู้สึกเฉยๆ ก็เพลินๆ เรื่อยๆ ไป อาการอย่างนี้จะ
เกิดโดยที่เราไม่ต้องใช้ความคิด แต่เกิดไปตามกระบวนการของการรับรู้แต่ความคิดที่เกิดขึ้นต่อนี่เอง ที่จะ
ทำให้อารมณ์เหล่านั้นจะเป็นไปในทางยึดติด หรือสักแต่ว่ารับรู้ บุคคลจำนวนมากที่มีความคิดไม่แยบคาย
จึงมักปล่อยให้อารมณ์ที่ทำให้ชอบใจ พอใจ มาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความยึดติด เกิดความใคร่ ปรารถนา
และแสวงหาให้ได้มาเสมอๆ กลายเป็นความกระหาย ไขว่คว้าเพื่อให้ได้เสพอารมณ์นั้นๆ
เช่น รูปสวย หรือไม่สวย เป็นเรื่องปกติที่ต้องเจอ แต่การที่อยากจะเห็นคู่ครองรูปสวย รูปหล่อ
อยากเห็นดอกไม้สวยๆ อยากเห็นวิวธรรมชาติที่สวยๆ เห็นท้องทะเลสวยๆ เห็นถ้ำสวยๆ อะไรที่สวยงามก็
ชอบดู อยากได้บ้านสวยๆ จึงทำให้จิตของเราไปติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ จึงต้องเดินทางแสวงหา ลำบาก
ตรากตรำหาทรัพย์สินเงินทองมาเพื่อแลกกับสิ่งสวยๆ เหล่านี้
เสียงเพราะ ไม่เพราะก็เป็นธรรมดาในชีวิตแต่ละวัน แต่การที่อยากได้ยินเสียงดนตรี เสียงนักร้อง
เสียงหวานๆ เพราะๆ ทำให้หลายคนยอมเสียเงินทอง บางทีก็ต้องไปไกลเพื่อฟังเสียงเพราะ เครื่องเสียง
แพงขนาดไหนก็ซื้อมาเพื่อให้ได้มีสิ่งให้เสียงเพราะๆ เป็นต้น ที่ยกตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นถึงความคิดไม่แยบคาย
ที่มนุษย์เอง สร้างกับดักให้กับตัวเอง หลงยึดติดในสิ่งที่เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต
อีกอย่างหนึ่ง ความดำริในทางกาม (กามสังกัปปะ) เป็นเหตุให้เกิดกามฉันทะ เพราะกามทุกชนิด
เกิดจากความดำริ ถ้าไม่คิดคำนึงถึงกามแล้ว คือไม่คำนึงว่างามว่าสวยแล้ว กามจะเกิดขึ้นไม่ได้ สมดังที่
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในคัมภีร์มหานิทเทสว่า
“ดูก่อนเจ้ากาม เรารู้ต้นเค้าของเจ้าแล้วว่าเจ้าเกิดจากความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ดูก่อน
เจ้ากาม เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าจักไม่มีแก่เราอีกต่อไป”
2.3. วิธีแก้ไขกามฉันทะ
2.3.1 ตามคัมภีร์
ในอรรถกถา พระไตรปิฎกได้กล่าวถึงการละกามฉันทะ ด้วยวิธีการ 6 ประการ คือ
1. การเรียนอสุภนิมิต
2. การประกอบเนืองๆ ในอสุภภาวนา
ขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 65 ข้อ 2 หน้า 2.
2 ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 14 หน้า 318.
22 DOU สมาธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิธี แก้ไข ใ น ก า ร ทำสมาธิ