ข้อความต้นฉบับในหน้า
4. การทำกิจกรรม
นักศึกษาควรบันทึกสาระสำคัญและทำกิจกรรมทุกอย่างที่ได้รับมอบหมาย เพราะกิจกรรมเหล่านี้
จำเป็นมากสำหรับการศึกษาชุดวิชานี้ และควรทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมด้วยตนเองเสมอ
5. ศึกษาผ่านบทเรียนทางการศึกษาธรรมะทางไกลผ่านดาวเทียมและสื่อเสริม
เนื่องจากการศึกษาธรรมะทางไกลผ่านดาวเทียม (หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ดาวธรรม”) ซึ่งดำเนินการ
โดยมูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นสื่อที่มีการนำเสนอสาระความรู้และนำไปสู่การปฏิบัติ
และสามารถติดตามชมและศึกษารายการต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาวิชาสมาธิเป็นอย่างดี นักศึกษา
ควรจะหาโอกาส รับชมและศึกษารายการที่เกี่ยวกับการทำสมาธิ โดยทำความเข้าใจในเนื้อหา พร้อมทั้ง
ควรศึกษาเพิ่มเติม จากสื่อสอนเสริมบทเรียน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ผลิตขึ้นเพื่อประกอบการเรียนโดยตรง
(นักศึกษาสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการศึกษาธรรมทางไกลผ่านดาวเทียมได้ที่ชมรม
ประสานงาน DOU ตามที่อยู่ที่ท่านสมัครเรียน)
6. เข้าโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
เพื่อให้นักศึกษามีความแตกฉานในการเรียนและมีประสบการณ์จากการทำสมาธิ ตลอดจนการ
ได้ทราบเรื่องราวและประสบการณ์ของผู้ที่เคยฝึกสมาธิ อันเป็นการศึกษาประกอบกับหนังสือที่ใช้เรียนนี้
นักศึกษาควรติดตามรายการธรรมะซึ่งเรียกว่า “โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา” ซึ่งเป็นรายการหนึ่งใน
การศึกษาธรรมะทางไกลผ่านดาวเทียม ที่มีการนำเสนอทุกวันจันทร์ - เสาร์ ตั้งแต่เวลา 19.00 - 21.30 น.
(เวลาในประเทศไทย) หรือเวลาช่วงอื่นที่มีการทบทวน ตามที่มีการแจ้งไว้ในผังรายการซึ่งนักศึกษา
สามารถสอบถาม หรือขอรับเอกสารได้ที่ชมรมประสานงาน DOU ที่ใกล้ที่อยู่ของท่าน
7. การสอบ
การศึกษาวิชาสมาธิ มีการวัดผลด้วยการสอบข้อเขียนทั้งแบบเลือกตอบ เติมคำ และความเรียง
อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิชาสมาธินี้ แม้การวัดผลการเรียนด้วยการสอบข้อเขียนจะมีความสำคัญใน
การประเมินผลการเรียนของนักศึกษา แต่สิ่งสำคัญอย่างยิ่งก็คือนักศึกษาจะต้องได้ปฏิบัติสมาธิ และมี
ประสบการณ์ในการทำสมาธิด้วยตนเอง
(8) DOU วิ ธี ก า ร ศึ ก ษ า