ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 4
ถีนมิทธะและวิธีแก้ไข
หลายครั้งและหลายคนที่นั่งสมาธิ อาจจะรู้จักกับการนั่งแล้วหลับกันมาไม่มากก็น้อย บางคนนั่ง
แล้วก็หลับแบบคอพับไปเลย บางคนก็มีอาการโงกเงาเหมือนต้นสนลู่ลม บางคนก็หลับลึกถึงขนาดปล่อย
ให้มีเสียงกรนออกมาด้วย ซึ่งบางทีอาการภายนอกที่ปรากฏเหล่านี้ ผู้ปฏิบัติสมาธิเองอาจจะไม่รู้ตัว สิ่ง
เหล่านี้มักเป็นภาพที่ส่งผลต่อนักปฏิบัติใหม่หลายคนที่อาจคิดว่า การนั่งสมาธินี่เป็นการนั่งหลับหรือเปล่า ไม่
เห็นจะได้อะไร และการนั่งง่วงโงกเงานี่เองที่อาจทำให้นักปฏิบัติหลายๆ คนกลายเป็นตัวตลกของผู้ที่ดูอยู่
ซึ่งเขาอาจจะมองว่ามานั่งทรมานให้ง่วงโงกเงกทำไม ไปนอนดีกว่า การนั่งสมาธิแล้วหลับซึ่งเป็นนิวรณ์
ประการหนึ่งใน 5 ประการ จึงเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของนักปฏิบัติธรรมที่ควรจะแก้ไข ทั้งเพื่อ
ทำให้ใจเราหยุดนิ่งเป็นสมาธิ และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของผู้ที่จะมาฝึกปฏิบัติใหม่
4.1 ลักษณะของถีนมิทธะ
คำว่า ถีนมิทธะ เกิดจากการผสมของคำ 2 คำ คือคำว่า ถิ่นและมิทธะ ถีนะ หมายถึง ความหดหู
มิทธะ หมายถึง ความเคลิบเคลิ้ม
พระธรรมกิตติวงศ์ท่านได้ให้ความหมายไว้ว่า “อาการที่จิตเกิดความห่อเหี่ยว ท้อแท้ หมดหวัง และ
ซึมเศร้า ง่วงเหงาหาวนอน เป็นเหตุให้เกิดความหมดอาลัย ความเกียจคร้าน ความไม่กระตือรือร้น ปล่อย
ปละละเลยไปตามยถากรรม”
ดังนั้นคนที่มีอาการถูกถีนมิทธะครอบงำจะมีอาการความง่วงเหงาซึมเซา ความหดหู่และเซื่องซึม
ขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ขาดกำลังใจและความหวังในชีวิตเกิดความเบื่อหน่ายชีวิต
ไม่คิดอยากทำสิ่งใดๆ ขาดความวิริยะอุตสาหะในการทำสิ่งต่างๆ ได้แต่ปล่อยให้ความคิดเลื่อนลอยไปเรื่อยๆ
จึงไม่สามารถรวมใจเป็นหนึ่งได้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบถีนมิทธะเหมือน “การถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ” คนที่ถูก
จองจำอยู่ในเรือนจำนั้น ย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับความบันเทิงจากการเที่ยวดูหรือชมมหรสพต่างๆ
หน้า 281.
ทองดี สุรเตโช, พระธรรมกิตติวงศ์, พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุด คำวัด, (กรุงเทพฯ เลี่ยงเชียง, 2548)
* ทองดี สุรเตโช, พระธรรมกิตติวงศ์, พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุด คำวัด, (กรุงเทพฯ เลี่ยงเชียง, 2548)
หน้า 281.
48 DOU สมาธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิ ธี แ ก้ ไ ข ใ น ก า ร ท ส ม า ธิ