ช่องทางทั้ง 6 ในการรับรู้ของมนุษย์ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 33
หน้าที่ 33 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงช่องทางทั้ง 6 ที่ใช้ในการรับรู้ของมนุษย์ ได้แก่ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบแต่ละช่องทางกับสัตว์ต่างๆ ที่มีลักษณะพิเศษเปรียบเทียบถึงการใช้ประโยชน์และการควบคุมจิตใจ ผ่านอินทรีย์สังวร เพื่อรักษาความสงบดุลตามธรรมชาติของแต่ละช่องทางและหลีกเลี่ยงการสร้างกิเลสหรือความฟุ้งซ่านในจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-ช่องทางที่ 1: ตาและความอยากเห็น
-ช่องทางที่ 2: หูและความต้องการฟัง
-ช่องทางที่ 3: จมูกและการดมกลิ่น
-ช่องทางที่ 4: ลิ้นและรสนิยม
-ช่องทางที่ 5: กายและการสัมผัส
-ช่องทางที่ 6: ใจและความคิดฟุ้งซ่าน
-ความสำคัญของอินทรีย์สังวร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. จมูก 4. ลิ้น 5. กาย 6. ใจ ร่างกายก็เหมือนบ้านที่มีประตูหน้าต่างอยู่ 6 ช่องทาง สิ่งต่างๆ ภายนอกที่เราจะรับรู้ รับทราบ ก็มาจาก 6 ทางนี้ จะเป็นสิ่งที่ดีทำให้ใจของเราสงบผ่องใสก็มาจาก 6 ทางนี้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้ใจของเรา ฟุ้งซ่าน ขุ่นมัว ก็มาจาก 6 ทางนี้เหมือนกัน ช่องทางทั้ง 6 นี้ นับว่ามีความสำคัญมาก เราจึงควรมา รู้จักถึงธรรมชาติของช่องทางทั้ง 6 นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบช่องทางทั้ง 6 1 ไว้ดังนี้ 1. ตาคนเรานี้เหมือนงู คือชอบที่ลับๆ อะไรที่เขาปกปิดเอาไว้ ชอบดู ยิ่งปกปิดยิ่งอยากดู แต่ อะไรที่เปิดเผยออกแล้วไม่ลับแล้ว ความอยากดูกลับลดลง 2. หูคนเรานี้เหมือนจระเข้ คือชอบที่เย็นๆ อยากฟังคำพูดเย็นๆ ที่เขาชมตัว หรือคำพูดเพราะๆ ที่เขาพูดกับเรา 3. จมูกคนเรานี้เหมือนนกในกรง คือชอบดิ้นรน พอได้กลิ่นอะไรหน่อย ก็ตามดื่มทีเดียว ว่ามาจากไหน 4. ลิ้นคนเรานี้เหมือนสุนัขบ้า คือบ้าน้ำลาย ว่างๆ ไม่รู้จะทำอะไร ขอให้ได้นินทาชาวบ้านละก็ชอบ 5. กายคนเรานี้เหมือนสุนัขจิ้งจอก คือชอบที่อุ่นๆ ที่นุ่มๆ ชอบซุก เดี๋ยวจะไปซุกตักคนโน้น เดี๋ยว จะไปซุกตักคนนี้ ชอบอิงคนโน้น ชอบจับคนนี้ 6. ใจคนเรานี้เหมือนลิง คือชอบชน คิดโน่น คิดนี่ ประเดี๋ยวก็ฟุ้งซ่านถึงเรื่องในอดีต ประเดี๋ยวก็ สร้างวิมานในอากาศถึงเรื่องในอนาคต ไม่ยอมอยู่นิ่ง ไม่ยอมสงบ อินทรีย์สังวร ก็คือ สำรวมระวังช่องทางทั้ง 6 เพราะเรารู้ถึงธรรมชาติของช่องทางนี้แล้ว ก็ต้อง คอยระวัง ใช้สติเข้าช่วยกำกับ อะไรที่ไม่ควรดูก็อย่าไปดู อะไรที่ไม่ควรฟังก็อย่าไปฟัง อะไรที่ไม่ควรดื่มก็ อย่าไปดม อะไรที่ไม่ควรลิ้มชิมรสก็อย่าไปชิม อะไรที่ไม่ควรสัมผัสก็อย่าไปสัมผัส อะไรที่ไม่ควรคิดก็อย่าไป คิด หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไปเห็นสิ่งที่ไม่ควรดูเข้าแล้ว ก็ให้จบแค่เห็น ไม่คิดปรุงแต่งต่อว่า สวยจริงนะ หล่อจริงนะ ต้องไม่นึกถึงโดยนิมิต หมายถึง เห็นว่าสวยไปทั้งตัว เช่น คนนี้สวยจริงๆ ต้องไม่นึกถึงโดย อนุพยัญชนะ หมายถึง เห็นว่าส่วนใดส่วนหนึ่งสวย เช่น ตาสวย ปากสวย หรือแขนสวย ขาสวย เป็นต้น อินทรีย์สังวรนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เราสู้กับกิเลสชนะหรือแพ้ก็อยู่ตรงนี้ ถ้าเรามีอินทรีย์ - สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค, มก. เล่ม 28 ข้อ 348 หน้า 498. 24 DOU สมาธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิธี แก้ไข ใ น ก า ร ทำสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More