การเกิดพยาบาทในจิตใจ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 43
หน้าที่ 43 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจวัฏจักรการเกิดพยาบาทที่เริ่มต้นจากความไม่พอใจ ซึ่งนำไปสู่ปฏิฆะ โกธะ และโทสะ ว่าการขัดใจส่งผลต่อความคิดและอารมณ์อย่างไร ในการทำสมาธิก็มีวิธีการแก้ไขที่สามารถช่วยให้จิตสงบและปล่อยวางจากอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ หากเกิดโทสะแล้ว มันจะทำให้จิตสับสน ถึงแม้ว่าจะมีทฤษฎีในพระธรรมคัมภีร์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์เหล่านี้ การทำความเข้าใจและการเรียนรู้เกี่ยวกับรากของพยาบาทและการขัดใจจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับมันได้ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ความไม่พอใจ
-ปฏิฆะ
-โกธะ
-โทสะ
-การเจริญสติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ใน สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิต มีอยู่ การไม่ทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำให้พยาบาทที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น” การเกิดพยาบาทขึ้นนอกจากจะเกิดจากปฏิฆะนิมิตแล้วหากเราไปศึกษาวงจรของกิเลสสายนี้ทั้งสาย เราก็จะพบว่ามีจุดเริ่มต้นจากสาเหตุเล็กๆ นั่น คือ ความไม่พอใจ แล้วค่อยๆ ขยายตัวเป็นปฏิฆะ โกธะ โทสะ และพยาบาทในที่สุด ดังแผนภาพ อรติ ปฏิฆะ โกธะ โทสะ → พยาบาท อรติ แปลว่า ความไม่พอใจ ไม่ชอบ ความไม่ชอบ คือ จุดเริ่มต้นของพยาบาท ความไม่ชอบ เกิด มาพร้อมกับใจของเราที่มีความอยาก เช่น อยากดู อยากฟัง อยากดม อยากลิ้ม อยากกิน อยากนอน แล้ว เมื่อไม่ได้สมกับที่อยาก หรือมีอะไรมาขัด ความไม่พอใจก็เกิดขึ้น เช่น อยากจะแต่งตัวสวยๆ แต่พอไปหยิบเสื้อ คนรีดผ้า รีดไม่ดี ทำให้เกิดรอยไหม้ เราก็ไม่พอใจ เป็นต้น ปฏิฆะ แปลว่า ขัดใจ หมายถึง ความขัดใจ ที่ขัดก็เนื่องจากไม่ชอบ ดังนั้น ปฏิฆะจึงเกิดจากอรติ จิตของเราถ้าเกิดขัดขึ้นมา คิดอ่านอะไรก็ไม่สะดวก คิดไม่โปร่ง จะทำอะไรก็ขัดข้องไปหมด เช่น วันนั้น เกิดทะเลาะกับเพื่อนในตอนเช้า วันนั้นเกือบทั้งวัน ไม่เป็นอันทำอะไร เพราะพอจะทำอะไร จิตก็แวบไปบ้าน ไปตรงที่ขัด ถ้ายังปลดที่ขัดไม่ได้ จิตก็ยังขัดอยู่อย่างนั้น ปฏิฆะนี้ ทำให้จิตกระวนกระวายมากกว่า อรติ ถ้า เปรียบอรติเหมือนจมูก เราได้กลิ่นเหม็นๆ ทำให้ไม่สบายจมูก แต่ปฏิฆะ เหมือนเราถูกคนอุดจมูก ทำให้ จำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อให้พ้นจากเหตุการณ์นั้น ถ้าสามารถระงับความขัดใจได้ เหตุการณ์ก็สงบลง ถ้าระงับ ไม่ได้ อาการของจิตจะแปรสภาพเป็น โกธะ โกธะ หรือ ความโกรธ คือ ความเดือดดาลของจิต ตามธรรมดาอาการของจิตตามปกติต้องทำงาน คือ การคิด ซึ่งการคิดนั้น มีงาน 2 อย่างคือ รับอารมณ์ และปล่อยอารมณ์ จิตที่เป็นปกติ คือ จิตที่ยอม ปล่อยอารมณ์เก่า และค่อยๆ รับอารมณ์ใหม่ สลับๆ กันไป แล้วถ้าเกิดมีอะไรมาขัดจังหวะ เช่น กำลังอ่าน หนังสืออยู่ มีเด็กมาเล่นเสียงดัง จิตก็ไม่พอใจ และขัดใจแล้ว ก็จะสลัดอารมณ์เดิมออกไป รับอารมณ์ใหม่ คือ ที่เด็กส่งเสียงดังเข้ามาอย่างรวดเร็ว กระแสความคิดจึงสับสน กลับไปมาระหว่างการอ่านหนังสือค้าง กับการไปหาการกระทำของเด็ก การคิดเร็วเกินไป ทำให้ช่วงความคิดสั้นและถี่ เหมือนตีกลอง ถ้าตีช้าๆ ก็เสื้อได้สูงสุดแขน ถ้ารัวถี่ มือที่เอื้อก็สั้นเข้า จิตคนเราก็เหมือนกัน ถ้าโกรธแล้วช่วงความคิดสั้น และ ถี่ - สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 30 ข้อ 359 หน้า 188. 34 DOU ส ม า ธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิ ธี แก้ ไ ข ใ น ก า ร ทำสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More