ข้อความต้นฉบับในหน้า
จะลงโทษฉันใด ภิกษุเกิดความฟุ้งซ่านรำคาญในเรื่องวินัยว่า สิ่งที่ตนกระทำไปนั้นจะผิด ถูกประการใด ก็
ต้องรีบไปหาพระวินัยธร เพื่อทำศีลของตนให้บริสุทธิ์ จึงไม่ได้เสวยสุขอันเกิดจากวิเวก ฉันนั้น
5. วิจิกิจฉา เปรียบเสมือนคนเดินทางไกลกันดาร ย่อมบุกป่าฝ่าดงข้ามห้วยเหว ทั้งต้องประสบ
กับสัตว์ป่าและความลำบากนานาชนิด บางครั้งก็ต้องอดหลับอดนอน บางครั้งก็ต้องทนหิวโหย เพราะเป็น
ทางกันดาร ทั้งย่อมระแวงภัย หวาดกลัว เดือดร้อนระทมทุกข์ ตลอดระยะทางที่ต้องเดินผ่านไป ฉันใด คน
ที่ถูกวิจิกิจฉานิวรณ์เข้าครอบงำ ก็เช่นกัน ก็หาความสงบสุขมิได้ เพราะวิจิกิจฉานิวรณ์เหมือนสัตว์ป่าที่ดุร้าย
เหมือนห้วยเหว เหมือนทางกันดารที่ขวางกั้นอยู่ ไม่อาจจะทำใจของตนให้สงบสุขได้
อีกประการหนึ่ง บุรุษที่เดินทางไกล หากเกิดความสะดุ้งกลัวพวกโจรผู้ร้าย เป็นอุปสรรคต่อการ
เดินทางไกลของบุรุษฉันใด ความลังเลสงสัยในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการ
บรรลุอริยภูมิของภิกษุ ฉันนั้น
การทำจิตให้ปลอดนิวรณ์ได้ ก็จะทำให้จิตสงบนิ่ง จนกระทั่งเข้าถึงประสบการณ์ภายใน มีความสุข
ความสงบและความเย็นกายเย็นใจ และในที่สุดก็จะทำให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในตัวได้ในที่สุด
1.4 อุปกิเลส
นอกจากนิวรณ์ 5 ประการแล้ว ในการปฏิบัติสมาธิ เมื่อจิตแน่วแน่เป็นสมาธิระดับหนึ่งแล้ว บาง
ท่านอาจจะเห็นนิมิต องค์พระ ดวงแก้ว หรือเห็นความสว่าง แต่เมื่อปฏิบัติไป สมาธินั้นอาจจะถอยลง นิมิต
ที่เห็นอาจจะเลือนลางไป หรือความสว่างนั้นอาจจะน้อยลงไป หรืออาจจะหายไป ทั้งนี้ก็เพราะในขณะ
ปฏิบัติเราจะพบเจอกับอุปสรรคขั้นต่อไป ที่นอกเหนือจากนิวรณ์ 5 เรียกว่า อุปกิเลส
อุปกิเลส แปลว่า เครื่องเศร้าหมอง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง ในที่นี้หมายถึง กิเลสที่เกิดขึ้นใน
ขณะปฏิบัติสมาธิ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 11 ประการ คือ
1. วิจิกิจฉา
2. อมนสิการ
3. ถีนมิทธะ
4. ฉัมภิตัตตะ
5. อุพพิละ
6. ทุฏจุลละ
7. อัจจารัทธวิริยะ
8. อติลีนวิริยะ
ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ
ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี
ความท้อแท้ ความเคลิบเคลิ้ม ง่วงเหงาหาวนอน
ความสะดุ้งหวาดกลัว
ความตื่นเต้นด้วยความยินดี
ความไม่สงบกาย
ความเพียรจัดเกินไป
ความเพียรย่อหย่อนเกินไป
อุปกิเลสสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 23 ข้อ 452-464 หน้า 131-136.
บ ท ที่ 1 อุ ป ส ร ร ค ใ น ก า ร ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม DOU 11