ความสงสัยในการปฏิบัติธรรม MD 203 สมาธิ 3  หน้า 106
หน้าที่ 106 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์ถึงความสงสัยที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติธรรม รวมถึงสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดวิจิกิจฉา เช่น การไม่ใช้ปัญญาในการพิจารณาธรรมะ และการนำความรู้ที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยมาประเมินผลการปฏิบัติ ผลที่ตามมาคือความสับสนและลังเลในการทำสมาธิ ซึ่งอาจเกิดจากการฟังธรรมที่ไม่ถูกต้องหรือการเปรียบเทียบประสบการณ์ส่วนบุคคลกับผู้อื่น ทำให้ไม่มั่นใจในธรรมะและไม่การเข้าถึงความจริง.

หัวข้อประเด็น

-ความสงสัยในการปฏิบัติธรรม
-อโยนิโสมนสิการและวิจิกิจฉา
-การใช้ปัญญาในการพิจารณาธรรม
-ผลกระทบของการฟังธรรมต่อการปฏิบัติ
-การเรียนรู้และประสบการณ์ในการทำสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5. บางคนก็สงสัยว่า จะนึกองค์พระดี หรือดวงแก้วดี หรือจะวางใจเฉยๆ ดี จะนึกองค์พระให้ ใหญ่หรือเล็ก ใส หรือสว่าง ไว้ตรงไหนดี เป็นต้น 6. ประสบการณ์แต่ละครั้งไม่สม่ำเสมอ ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่เคยได้ยินได้ฟังมา เป็นต้น 7.5.2 สาเหตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทำให้ มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรม เป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉานั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว ให้กำเริบเสิบสานยิ่งขึ้น” อโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดวิจิกิจฉา คือการไม่ใช้ปัญญาพิจารณาสภาพธรรมหรือสภาพ ความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงเรียกว่า “ใช้โยนิโสมนสิการ คือบางคนนั้น เมื่อตนไม่เข้าใจสิ่งใดแล้ว ก็ไม่เข้าไปไต่ถามท่านผู้รู้ ทั้งตนเองก็ไม่ยอมพิจารณาเหตุผล ตามความจริง ก็ย่อมเกิดความสงสัยขึ้นได้ เช่นมีความสงสัยในเรื่องบุญบาป ในเรื่องนรกสวรรค์ หรือ เรื่องการบำเพ็ญกรรมฐาน ไม่แน่ใจว่าที่ตนทำอยู่นั้นถูกต้องหรือไม่ เมื่อไม่ใช้ปัญญาพิจารณาโดย แยบคาย(อโยนิโสมนสิการ) คือไม่พิจารณาเหตุผลด้วยปัญญา ก็เป็นเหตุให้เกิดความสงสัยคือวิจิกิจฉา นิวรณ์ข้อนี้ขึ้น ย่อมจะขัดขวางการทำสมาธิ เพราะมีความลังเลสงสัยในข้อปฏิบัติ เนื่องจากอโยนิโสมนสิการ คือ การไม่ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองนี้เอง นอกจากนี้ จากการฝึกปฏิบัติยังพบว่า ความลังเลสงสัยยังเกิดจากการที่ผู้ฝึกนำความรู้เดิมที่มี อยู่เพียงเล็กน้อย เข้ามาเทียบเคียงกับผลการปฏิบัติแล้วพยายามตีความ ทำให้เกิดความสับสน แทนที่จะ ได้ทำสมาธิต่อไปอย่างสบายๆกลับต้องเอาใจไปสาละวนอยู่กับการวิจัยวิจารณ์พิจารณาระดับสมาธิของตัวเอง ทำให้ใจไม่เป็นสมาธิ ซึ่งเราสามารถสรุปประเภทของความสาเหตุความลังเลสงสัย ได้ดังนี้ คือ 1. เกิดจากความรู้ที่ได้จากการฟัง เริ่มจากความเป็นผู้ทะยานอยากที่จะปฏิบัติให้ได้ผล อยากรู้ อยากได้ยินความเป็นไปของผู้ทำ สมาธิได้ดี ทำให้คอยฟังโดยตรง หรือถ่ายทอดต่อกันมา หรือไม่ก็คอยถามกับผู้ที่ตนคิดว่ารู้แล้ว ส่งผลให้ เกิด ความไม่รู้จริง ไม่เห็นจริง ไม่ได้เข้าถึงสภาวธรรมภายในด้วยตัวเอง เมื่อถึงคราวตัวเองปฏิบัติเลยเกิดความ พยายามที่จะเอาอย่าง เพราะเข้าใจผิดคิดว่าการปฏิบัติสมาธิเหมือนกับการเรียนหนังสือ ที่พอได้ยินได้ฟัง มาแล้วสามารถจินตนาการได้ ทำให้เกิดความสับสน อึดอัด เกิดความไม่มั่นใจในธรรมะ คิดว่าไม่จริงบ้าง เป็น เรื่องพูดจาโอ้อวดกันบ้าง ทำให้เกิดความรู้สึกเสื่อมศรัทธา ท้อถอย พลอยไม่ยินดีที่จะทำสมาธิต่อไป - สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 30 ข้อ 467 หน้า 248 บ ท ที่ 7 อุ ป ส ร ร ค ต่าง ๆ และวิธีแก้ไข DOU 97
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More