การฝึกนิ่งใจและพิจารณาความเป็นจริงของชีวิต MD 203 สมาธิ 3  หน้า 84
หน้าที่ 84 / 111

สรุปเนื้อหา

บทนี้สอนการฝึกนิ่งใจที่ฐานต่างๆ โดยเริ่มจากฐานที่ 5, 6, 7 และการพิจารณาความเป็นจริงของชีวิตว่าทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วเสื่อมสลาย รวมถึงการใช้อำนาจของใจในการหยุดนิ่ง โดยให้พิจารณาถึงความไม่เที่ยงของชีวิต อาทิ ความแก่และความตาย เพื่อให้เข้าใจว่าเรามีชีวิตเพื่อการหยุดนิ่งและหาความสุขอย่างแท้จริง

หัวข้อประเด็น

-ฝึกนิ่งใจ
-ฐานที่ 1 ถึง 7
-การพิจารณาความเป็นจริงของชีวิต
-ความไม่เที่ยงของชีวิต
-การภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อะระหัง 3 ครั้ง เลื่อนลงมาที่ฐาน 5 ภาวนาในใจ สัมมาอะระหัง 3 ครั้งก็เลื่อนลงไปเหมือนกลืนเข้าไปเลย ให้ไปหยุดอยู่ที่ฐานที่ 6 ตรงจุดตัดของเส้นด้ายทั้งสอง ระดับเดียวกับสะดือ ตรงฐานที่ 6 ให้หยุดให้นิ่ง เหมือน กลืนลงไปเลย ภาวนา สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง เมื่อปักหลักใจตั้งอยู่ฐานที่ 7 แล้วยังฟังอยู่ ให้เลื่อนถอยหลังไปฐานที่ 6 แล้วภาวนา3 ครั้ง แล้ว เลื่อนถอยหลังมาฐานที่ 5 ภาวนา 3 ครั้ง ตรึกถึงดวงใส บริสุทธิ์ แล้วก็เลื่อนมาที่เพดานปาก ตรึกนึกถึง ดวงใส ใจหยุดไปกลางดวงใส พร้อมภาวนา 3 ครั้ง แล้วก็เลื่อนไปที่หัวตา ตรึกนึกถึงดวงใส แล้วก็เลื่อนมา ที่ปากช่องจมูก เราจะทำอย่างนี้สักกี่ครั้งก็ได้ จากฐานที่ 1 มาฐานที่ 7 จากฐานที่ 7 มาฐานที่ 1 คือฝึกให้ รู้จักทางเดินของใจ เดินบ่อยๆ ในเส้นทางนี้ให้คล่อง จะทำให้ใจไม่ค่อยฟัง 4. ลืมตาดู แล้วค่อยหลับตา ถ้าฟังมาก ให้ลืมตาดูดวงแก้ว ดูภาพพระ ดูธรรมชาติ ดูต้นไม้ ถ้ากลางคืนก็ดูความมืด ให้สบายใจ พอหายฟุ้งก็ค่อยๆ หรี่ตาเบาๆ น้อมใจไปหยุดนิ่ง อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 “จะฟุ้งน้อยฟังมากไม่ยากดอก เดี๋ยวจะบอกเคล็ดลับไว้ใช้แก้ เพียงค่อยๆ ลืมตาเท่านั้นแล ฟุ้งว่าแน่ก็ยังแพ้แค่ลืมตา” 5. ใช้การพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของชีวิต ให้พิจารณาว่า สรรพสัตว์ สรรพสิ่งทั้งหลาย สิ่งมีชีวิตก็ตาม ไม่มีชีวิตก็ตาม ล้วนแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วเสื่อมสลายไป สู่จุดสลายหมดทุกอย่าง จะเป็นคนสัตว์ สิ่งของ ล้วนไปสู่จุดสลายหมด มาอยู่แล้วก็ไป มนุษย์ก็เหมือนกัน เมื่อมาเกิดแล้วก็ค่อยๆ แก่ ค่อยๆ เสื่อมไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ตายแยกสลายไป จะเป็นผู้ หญิง ผู้ชาย มียศถาบรรดาศักดิ์สูงถึงแค่ไหน มาอยู่แล้วก็ไปทั้งนั้น ต้นไม้ก็เหมือนกัน จากเมล็ดก็เติบโต มี ราก ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล แก่แล้วก็เสื่อมสลายไป สัตว์ก็เหมือนกัน เกิดขึ้น เจริญเติบโต แล้วก็ เสื่อมสลายไป ตายเหมือนกันหมด ต้นหมากรากไม้ ล้วนเสื่อมหมด ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวในอากาศ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมสลายหมด ทุกอย่างไปสู่จุดสลายทั้งสิ้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อนึกคิดอย่างนี้ ก็จะทำให้เรารู้ว่าเรามีชีวิตเพื่อการหยุดนิ่งเท่านั้น หรือนึกถึงความหมายว่า ความตายจะมาปรากฏเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ ถ้าสมมุติว่าเราจะตายในตอน ช่วงนี้ เราจะนึกคิดอะไรเป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง ที่ช่วยให้เราพ้นจากความทุกข์เข้าถึงความสุขได้ ตั้งแต่ทุกข์ ในสังสารวัฏ หรือทุกข์ที่เกิดจากขันธมาร หรือทุกข์ในอบาย เป็นต้น เมื่อคิดได้อย่างนี้ เดี๋ยวใจก็แล่นเข้า 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 24 มีนาคม 2535. บ ท ที่ 5 อุ ท ธ จ จ ก ก ก จ จ ะ แ ล ะ วิธี แก้ไข DOU 75
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More