ความสำคัญของการมีสติและความสงบในจิตใจ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 19
หน้าที่ 19 / 111

สรุปเนื้อหา

ความรู้สึกเป็นอิสระและสบายใจเกิดจากการสามารถละกามฉันทะได้อย่างเด็ดขาด การมีความปราโมทย์ยินดี และการไม่อยู่ภายใต้อำนาจของพยาบาทนิวรณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เรามีกำลังใจในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ลักษณะไม่ต่างจากโรคที่ก่อให้เกิดความทุกข์ เช่น โรคใจหรือความทุกข์จากการเป็นทาสของนิวรณ์ จะทำให้เราไม่สามารถสัมผัสความสุขจากการสวดมนต์และปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการฝืนใจรับฟังโอวาทจากผู้มีความหวังดี รวมถึงการปฏิบัติธรรมอย่างเราเตอร์ จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยให้จิตใจเรานั้นสดใสและเปิดกว้างต่อความสุข โดยไม่ติดอยู่ในกรอบหรือกฎเกณฑ์ที่นิวรณ์สร้างขึ้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการละเว้นจากนิวรณ์เหล่านี้ จะช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นและมีอิสระในจิตใจมากยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-การละกามฉันทะ
-พยาบาทนิวรณ์
-ความสุขและความสงบ
-การปฏิบัติธรรม
-อุทธัจจกุกกุจจะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความรู้สึกเป็นอิสระ และสบายใจ อุปมาข้อนี้ฉันใด ผู้ที่สามารถละกามฉันทะ ในจิตใจได้เด็ดขาดแล้ว ย่อม มีความปราโมทย์ยินดีอย่างยิ่ง ฉะนั้น 2. พยาบาท เปรียบเสมือนคนที่เป็นโรค คือ ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ไม่สบายทั้งสิ้น เช่น เป็น โรคปวดหัวก็เจ็บที่หัว โรคปวดท้องก็เจ็บที่ท้อง โรคปวดเท้าก็เจ็บที่เท้า เป็นโรคอะไรที่ไหนก็เจ็บที่นั้น ไม่มี ความสุขได้ ถ้ามีโรค ข้อนี้ฉันใด ถ้าใครมีโรคคือพยาบาทนิวรณ์เข้ามาทำลายแล้ว ผู้นั้นก็คือคนเป็นโรคจิต นั่นเอง คือโรคจิตที่เป็นอาคันตุกกิเลส ที่เข้ามาเยือนในของเราเป็นคราวๆ อีกประการหนึ่ง ผู้ที่เป็นโรคต่างๆ มี โรคดี โรคตับ เป็นต้น ย่อมฝืนใจรับโอวาทของพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ผู้มีความหวังดีต่อตนฉันนั้น ด้วยเกรงว่าถ้าตนไม่รับฟังโอวาท ก็อาจจะต้องเคลื่อนคลาดจาก พรหมจรรย์ ในวันใดวันหนึ่งเป็นแน่แท้ ผู้ที่ฝืนใจรับฟังโอวาทจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์ผู้หวังดีต่อตน ย่อม ไม่มีความเข้าใจ และซาบซึ้งในโอวาทเหล่านั้นฉันใด ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจพยาบาทนิวรณ์ ก็ไม่ได้พบรสพระธรรม ไม่ได้พบความสุขอันเกิดจากฌาน เป็นตน ฉันนั้น 3. ถีนมิทธะ เปรียบเสมือนคนที่ติดคุก ใครก็ตามที่ถูกจำขังติดคุกแล้วก็ไม่มีอิสระ ต้องถูกกักขัง ให้กระวนกระวายเดือดร้อน หมดความปรอดโปร่ง หมดความสงบสุข ฉันใด คนที่ถูกถีนมิทธะนิวรณ์เข้า ครอบงำจิตก็เหมือนกัน หมดอิสระ หมดความสงบสุข หมดหนทางที่ตนจะก้าวหน้าไปได้ในด้านจิตใจ อีกประการหนึ่ง คนที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำนั้น ย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับความบันเทิงจากการ เที่ยวดูหรือชมมหรสพต่างๆ ในงานนักขัตฤกษ์ ฉันใด ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจถีนมิทธะนิวรณ์ย่อมหมดโอกาส ที่ จะได้รับรู้รสแห่งธรรมบันเทิง คือความสงบสุขอันเกิดจากฌาน ฉันนั้น 4. อุทธัจจกุกกุจจะ เปรียบเสมือนคนที่เป็นทาสเขา จะไปไหนตามใจชอบก็ไม่ได้ ต้องคอยรับ ใช้นายแล้วแต่นายจะสั่ง ไม่เป็นตัวของตัวเอง นายบังคับใช้งานก็ต้องเดือดร้อน อยู่อย่างมีความทุกข์ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเป็นทาสเขาในสมัยโบราณเลย แม้แต่คนที่เป็นคนใช้ประจำบ้านในปัจจุบัน ก็ถูกนายใช้ ทำงานอย่างโน้นบ้าง ทำงานอย่างนี้บ้าง ไม่เป็นอิสระแก่ตัว ฉันใด คนที่ถูกอุธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์เข้า ครอบงำก็เหมือนกัน ก็หาความสุขไม่ได้ เพราะนิวรณ์เกิดเป็นนายใจของตนเสียแล้ว นิวรณ์สั่งให้ทำอย่าง โน้นทำอย่างนี้ ตามที่มันครอบงำจิตของเรา เราก็หมดความเป็นอิสระไม่เป็นไทยแก่ตัว เพราะตกเป็นทาส ของนิวรณ์เสียแล้ว อีกประการหนึ่ง ผู้เป็นทาสเขา ถึงแม้ว่าจะไปพักผ่อนดูหนังดูละครก็ต้องรีบกลับเพราะกลัวนาย 1 ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 หน้า 457. 2 ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 หน้า 458. 3 ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 หน้า 458. 10 DOU ส ม า ธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิ ธี แก้ไข ใ น ก า ร ทำสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More