การจัดการความกังวลด้วยสมาธิ MD 203 สมาธิ 3  หน้า 78
หน้าที่ 78 / 111

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอวิธีการจัดการความกังวลที่เกิดขึ้นในใจและเสนอให้ทำสมาธิเพื่อช่วยในการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกล่าวถึงความกังวลทั้ง 10 ข้อ และสาเหตุที่ทำให้เกิดนิวรณ์ซึ่งส่งผลต่อจิตใจและความสงบรวมถึงการระมัดระวังในทวารอินทรีย์ การรู้ประมาณในโภชนะ และการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการศึกษา.

หัวข้อประเด็น

-การจัดการความกังวล
-การปฏิบัติสมาธิ
-นิวรณ์และสาเหตุที่ทำให้เกิดความกังวล
-การศึกษาภายใต้หลักพุทธศาสนา
-การรักษาสถานที่และจิตใจให้สะอาด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่ครูให้ทำ ส่งผลมีความกังวล เราก็จะต้องตัดกังวล คิดว่าการปฏิบัติสมาธิจะช่วยทำให้การศึกษาดีขึ้น ทั้ง ด้านความจํา และความคิด 10. ความกังวลเรื่องอิทธิฤทธิ์ การที่บุคคลมีจิตตั้งมั่น สามารถได้หูทิพย์ ตาทิพย์ สามารถแสดงความสามารถพิเศษต่างๆ ได้ ทำให้ มีคนมาพบปะ มาขอให้ช่วยเหลือมาก ทำให้เกิดความกังวลได้ ความกังวลทั้ง 10 ข้อนี้ หากเกิดขึ้นในใจ และไม่สามารถตัดความกังวลไปได้ แม้จะพยายามทำ สมาธิตลอด ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จได้ ความกังวลนี้เป็นนิวรณ์ชนิดหนึ่ง นิวรณ์ชนิดนี้เป็นนิวรณ์ที่ทำให้ใจของเราส่ายอยู่ ฟุ้งซ่านอยู่ ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เราต้องตัดความกังวลนี้ นอกจากนี้ ก็ควรตัดความกังวลเล็กๆน้อยๆ เช่น ถ้า หากเสื้อผ้าสกปรกก็ชักเสีย ร่างกายไม่สะอาดก็ให้อาบน้ำเสีย ให้จิตใจสบาย ห้องไม่สะอาดก็กวาดให้เรียบร้อย สถานที่บริเวณไม่เรียบร้อยก็เก็บกวาดให้เรียบร้อย เพื่อจิตใจจะได้มองแล้วแช่มชื่นสบาย ให้ตัดความกังวล เล็กๆ น้อยๆ ด้วย 5.2.3 สาเหตุ 5 ประการ นอกจากนี้ในพระไตรปิฎก ยังได้กล่าวถึงการที่ภิกษุมีกายหนัก ไม่เห็นแจ้งธรรม ซึ่งก็คือ การที่ ภิกษุมีใจไม่สงบเป็นสมาธิ ไม่เข้าถึงธรรมะภายใน ซึ่งพระพุทธองค์ก็ชี้แจงว่า เกิดจากสาเหตุ 5 ประการ ดังนี้คือ 1. ไม่คุ้มครองในทวารอินทรีย์ทั้งหลาย 2. ไม่รู้ประมาณในโภชนะ 3. ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ 4. ไม่เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย 5. ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งกลางวัน และกลางคืน 1. ไม่คุ้มครองในทวารอินทรีย์ทั้งหลาย การไม่คุ้มครองในทวารอินทรีย์ทั้งหลายก็คือ การไม่ระมัดระวังสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เข้ามาสู่ใจ หากไม่รู้จักเลือกรับแต่เฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์เข้ามาสู่ใจของเราแล้ว ก็จะทำให้จิตใจ ของเราร้อนรุ่ม กระวนกระวาย ตัวอย่างเช่น ชอบดูภาพสยดสยอง ก็จะทำให้เกิดความฟุ้งซ่านขึ้น และ 'อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 56 หน้า 136. บ ท ที่ 5 อุ ท ธ จ จ ก ก ก จ จ ะ แ ล ะ วิธี แก้ไข DOU 69
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More