ข้อความต้นฉบับในหน้า
จะเห็นได้ว่า การที่จะให้ปฏิบัติสมาธิได้ดี เบื้องต้นต้องมีใจพ้นจากกาม แม้ว่าจะมีกายออกจาก
กามเป็นนักบวช หรือไม่ก็ตาม หากมีใจพ้นจากกาม ก็จะปฏิบัติธรรมได้ดี
และเมื่อพิจารณาให้ดีก็จะพบว่า กามฉันทะนี้เป็นต้นเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความกระหายและ
อยากอยู่ในใจ ความอยากได้คอยครอบงำและบงการชีวิตของเรา เราไม่มีความพอใจก็เพราะว่าสิ่งที่เรามี
อยู่แล้วยังไม่ดีพอ เรามักแสวงหาที่จะเห็นรูปที่สวยกว่าเดิม ได้ยินเสียงที่ไพเราะ กินอาหารที่อร่อยกว่าเดิม
มีคู่ครองที่ดี เราอยากให้ผู้อื่นชม ให้ผู้อื่นรัก เราจึงพยายามแสวงหาประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจอยู่
ตลอดเวลา ความคิดเหล่านี้ได้วนเวียนอยู่ในใจของเรา แต่สิ่งที่สนองความอยากไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาอยู่
ที่ความรู้สึกยังไม่พอ ซึ่งก็เกิดจากความเชื่อว่า ถ้าเราได้ทุกสิ่งทุกอย่างแล้วเราจะมีความสุข
ปัญหาของการแสวงหาความสุข และความสงบอย่างถาวรจากกามฉันทะ ซึ่งมันไม่เที่ยงและขึ้น
อยู่กับสิ่งแวดล้อมภายนอก มันอาจจะทำให้เราพอใจชั่วครู่แล้วจากนั้นเราก็จะเบื่อ ไม่พอใจ หงุดหงิด แล้ว
ก็แสวงหาประสบการณ์ใหม่ต่อไป
กามฉันทะ ฝึกจิตให้แสวงหาความสุขซึ่งอยู่ในอนาคต จนทำให้เราไม่รับรู้อยู่กับปัจจุบัน เรามักจะ
หลงอยู่กับความคิดที่ว่า “ถ้าได้อย่างนั้น อย่างนี้” เช่น
“ถ้าเรามีเงินพอที่จะเดินทางไปเรื่อยๆ และไม่ต้องกลับบ้าน เราก็จะมีความสุข”
“ถ้าเรามีที่ดินงามๆ สักผืน เราจะมีความสุข”
“ถ้าเรามีเบาะนุ่มๆ รองนั่งฝึกสมาธิ เราก็จะมีความสุข”
เรามักจะผัดผ่อนเวลาของความสุขไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้พิจารณาให้เห็นถึงโทษ และความทุกข์
เนื่องจากความอยากและการใช้ชีวิตแบบนี้ และทำให้ความสงบสุขของเราขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอก
ความอยากในกามทำให้เราต้องแสวงหา ต้องการได้บุคคล สัตว์ สิ่งของ เป็นความรู้สึกว่ายังขาด
เหลือ ไม่พอใจ เป็นการผลักเวลาปัจจุบัน ออกให้พ้นตัว ต่างไปจากอารมณ์ที่เป็นสมาธิ ที่ความรู้สึกจะ
ปล่อยจิตให้คล้อยไปกับวินาทีปัจจุบัน ไม่ยึดถือ ปล่อยวาง
ความอยากจึงเป็นศัตรูตัวสำคัญประการแรกของการทำสมาธิ ที่มนุษย์ทั้งหลายผู้แสวงหาความ
สุขที่แท้จริงจะต้องเจอ
20 DOU สมาธิ 3 อุ ป ส ร ร ค แ ล ะ วิ ธี แก้ ไ ข ใ น ก า ร ท ส ม า ธิ