ข้อความต้นฉบับในหน้า
นักปราชญ์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
คำกล่าวของนักปราชญ์
1. “แล้วข้าพเจ้าก็ละทิ้งกระท่อมมุงด้วยใบไม้ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย 8 ประการ และก็
เข้าไปหาโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งให้คุณธรรม 10 ประการ”
2. “ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้หว่านหรือปลูกพืช เพื่อใช้เป็นอาหารของข้าพเจ้า แต่ผลไม้ที่หล่นจาก
ต้นไม้ให้ประโยชน์มากมายแก่ข้าพเจ้า”
3. “ข้าพเจ้าบำเพ็ญเพียรฝึกสมาธิ นั่ง ยืน และเดินไปมา ข้าพเจ้าได้บรรลุอภิญญาก่อนที่ 7 วัน
จะผ่านไป”
การบำเพ็ญสมาธิ ซึ่งเป็นความสำเร็จอันแท้จริงในการฝึกจิต จำเป็นจะต้องมีความพยายามอัน
แรงกล้าและความสงบสงัดเต็มที่ ห่างจากฝูงชนที่ส่งเสียงดังและไม่สงบ
2. ความกังวลเรื่องตระกูล
ครอบครัว หรือตระกูล หมายถึงเครือญาติหรือผู้อุปถัมภ์ค้ำชูทั้งหลาย บุคคลผู้อยู่ใกล้ชิดกับ
ครอบครัวของเครือญาติ หรือผู้อุปถัมภ์ของตน อาจพบว่า เครือญาติดังกล่าวเป็นอุปสรรค เพราะว่าเมื่อ
บุคคลมีความเกี่ยวข้องกับเครือญาติอย่างใกล้ชิด ถึงกับว่าเมื่อเครือญาติมีความสุขก็มีความสุขด้วย และ
เมื่อเครือญาติมีทุกข์ก็เป็นทุกข์ด้วย เมื่อไม่มีเครือญาติเหล่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปลีกออกจากเครือ
ญาติ และตัดความกังวล โดยคิดว่า เมื่อเรานั่งสมาธิเสร็จ ก็ต้องไปพบไปเห็นกันอีก จึงควรตัดความกังวล
ถ้าตัดไม่ได้ จิตก็ไม่สงบ
3. ความกังวลเรื่องทรัพย์สมบัติ
ปัจจัย 4 คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ และยารักษาโรค ถ้าบุคคลได้สิ่งเหล่านี้มา ก็จะต้องเสีย
เวลาในการดูแลรักษา คอยระมัดระวัง บางครั้งอาจต้องใช้เวลาทั้งวันในงานสังคม ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรค
ในการปฏิบัติธรรม หรือบางคนอาจคิดว่า เมื่อเรามานั่งสมาธิ การค้าขาย ซึ่งเคยได้กำไร สิ่งที่เคยทำเคย
ได้ผลกำไรอยู่ก็อาจจะหมดไป เงินทองของเราก็จะร่อยหรอไป เมื่อคิดอย่างนี้ก็ไม่มานั่งสมาธิ เพราะฉะนั้น
ต้องตัดความกังวลในลาภสักการะหรือทรัพย์สมบัติที่หามาได้นี้ เพราะสิ่งเหล่านี้เมื่อเรามีคุณความดี มีสิ่งที่
เราได้รับในทางใจแล้วก็เกิดขึ้นได้เอง และทรัพย์สมบัติเหล่านั้น ก็ไม่ใช่จุดมุ่งหมายที่แท้ เพราะยังอาจนำ
ภัยมาให้ด้วย
4. ความกังวลเรื่องหมู่คณะ
คือมีความกังวลถึงคนที่ตัวมีความเกี่ยวข้อง เช่น เป็นครูก็คิดถึงลูกศิษย์ หรืออยู่ในสำนักงานก็
คิดถึงผู้เกี่ยวข้องในการงาน บางทีผู้นั้นเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีผู้ดูแล ก็จะทำให้จิตมีความกังวล จิตก็ไม่อาจ
สงบได้ เพราะฉะนั้น จะต้องตัดความกังวลในข้อนี้ให้ได้
บ ท ที่ 5
อุ ท ธ จ จ ก ก ก จ จ ะ แ ล ะ วิธี แก้ไข DOU 67